กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จัดประชาพิจารณ์ ร่าง พรบ.ห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จัดประชาพิจารณ์ร่างพระราชบัญญัติห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข พ.ศ. .... เชิญผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อปรับปรุงให้ร่าง พระราชบัญญัติฯ ดังกล่าวมีความครบถ้วนสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ในการดูแลสุขภาพประชาชนที่เข้ามาใช้บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข
น.พ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า เนื่องจากในปัจจุบันการดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์และสาธารณสุข ยังไม่มีกฎหมายเฉพาะที่กำหนดมาตรฐานการดำเนินการและวิธีการที่ใช้ตรวจวิเคราะห์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จึงได้จัดทำร่างพระราชบัญญัติห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข พ.ศ. .... ขึ้น เพื่อให้ได้ผลการตรวจวิเคราะห์ที่ถูกต้อง นำไปใช้ประโยชน์ในการรักษา สร้างเสริมสุขภาพ ควบคุม ป้องกันโรค และคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดเพื่อให้ประชาชนที่มาใช้บริการห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุขได้รับการบริการที่มีคุณภาพ มาตรฐานเท่าเทียมกัน ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบในการจัดทำร่างพระราชบัญญัติฯดังกล่าว เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2554 ที่ผ่านมา และให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องปฏิบัติให้เป็นไปตามนโยบายและแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2555 – 2558 (แผนนิติบัญญัติ) และจะต้องเสนอร่างกฎหมายดังกล่าวต่อกระทรวงสาธารณสุขภายในเดือนกันยายน 2557 นี้
อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ยกร่างกฎหมาย ฉบับนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นร่างพระราชบัญญัติห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข พ.ศ. ... ขึ้น ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพ เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานทางห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุขทั้งภาครัฐและภาคเอกชน พร้อมกับได้รับเกียรติจากนายแพทย์ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล ที่ปรึกษาสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ มาให้ความรู้เรื่องกรอบความคิดและความจำเป็นที่จะต้องมีกฏหมายดังกล่าว และรองศาสตราจารย์ นายแพทย์วิรัตน์ วงศ์แสงนาค นายกสมาคมผู้ตรวจรับรองและวิเคราะห์คุณภาพ ได้มาเสนอมุมมองและพัฒนาการของห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุขในประเทศไทย โดยจะนำข้อมูลที่ได้ไปปรับปรุงให้ร่างพระราชบัญญัติห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุขมีความครบถ้วนสมบูรณ์เป็นประโยชน์ในการดูแลสุขภาพประชาชนมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จะนำร่างกฎหมายฉบับนี้ออกเผยแพร่ทางช่องทางต่างๆ เพื่อรับฟังความคิดเห็นประชาชนเพิ่มเติมอีก โดยเฉพาะทางเว็บไซต์ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ www.dmsc.moph.go.th
------------------------------------------
ที่มา http://www.dmsc.moph.go.th/
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จัดประชาพิจารณ์ร่างพระราชบัญญัติห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข พ.ศ. .... เชิญผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อปรับปรุงให้ร่าง พระราชบัญญัติฯ ดังกล่าวมีความครบถ้วนสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ในการดูแลสุขภาพประชาชนที่เข้ามาใช้บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข
น.พ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า เนื่องจากในปัจจุบันการดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์และสาธารณสุข ยังไม่มีกฎหมายเฉพาะที่กำหนดมาตรฐานการดำเนินการและวิธีการที่ใช้ตรวจวิเคราะห์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จึงได้จัดทำร่างพระราชบัญญัติห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข พ.ศ. .... ขึ้น เพื่อให้ได้ผลการตรวจวิเคราะห์ที่ถูกต้อง นำไปใช้ประโยชน์ในการรักษา สร้างเสริมสุขภาพ ควบคุม ป้องกันโรค และคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดเพื่อให้ประชาชนที่มาใช้บริการห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุขได้รับการบริการที่มีคุณภาพ มาตรฐานเท่าเทียมกัน ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบในการจัดทำร่างพระราชบัญญัติฯดังกล่าว เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2554 ที่ผ่านมา และให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องปฏิบัติให้เป็นไปตามนโยบายและแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2555 – 2558 (แผนนิติบัญญัติ) และจะต้องเสนอร่างกฎหมายดังกล่าวต่อกระทรวงสาธารณสุขภายในเดือนกันยายน 2557 นี้
อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ยกร่างกฎหมาย ฉบับนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นร่างพระราชบัญญัติห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข พ.ศ. ... ขึ้น ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพ เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานทางห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุขทั้งภาครัฐและภาคเอกชน พร้อมกับได้รับเกียรติจากนายแพทย์ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล ที่ปรึกษาสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ มาให้ความรู้เรื่องกรอบความคิดและความจำเป็นที่จะต้องมีกฏหมายดังกล่าว และรองศาสตราจารย์ นายแพทย์วิรัตน์ วงศ์แสงนาค นายกสมาคมผู้ตรวจรับรองและวิเคราะห์คุณภาพ ได้มาเสนอมุมมองและพัฒนาการของห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุขในประเทศไทย โดยจะนำข้อมูลที่ได้ไปปรับปรุงให้ร่างพระราชบัญญัติห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุขมีความครบถ้วนสมบูรณ์เป็นประโยชน์ในการดูแลสุขภาพประชาชนมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จะนำร่างกฎหมายฉบับนี้ออกเผยแพร่ทางช่องทางต่างๆ เพื่อรับฟังความคิดเห็นประชาชนเพิ่มเติมอีก โดยเฉพาะทางเว็บไซต์ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ www.dmsc.moph.go.th
------------------------------------------
ที่มา http://www.dmsc.moph.go.th/