ผู้เขียน หัวข้อ: ชีววิทยาของก็อดซิลล่า  (อ่าน 1436 ครั้ง)

ออฟไลน์ tikky

  • Global Moderator
  • medtech ปี เอก
  • *****
  • กระทู้: 1985
ชีววิทยาของก็อดซิลล่า
« เมื่อ: มิถุนายน 03, 2014, 06:09:14 pm »












[/color][/size][/font][/t][/color]“Gojirasaurus Quayi” เป็นไดโนเสาร์จากยุคไทรแอสซิก ขุดพบฟอสซิลในรัฐนิวเม็กซิโก สหรัฐอเมริกา ผู้ค้นพบ คือ Kenneth Carpenter นักบรรพชีวินซึ่งเป็นแฟนพันธุ์แท้ของก็อดซิลล่าจึงตั้งชื่อมันว่า “Gojira” ตามสำเนียงแบบญี่ปุ่น ไดโนเสาร์ชนิดนี้สูงราว 5.5 เมตร เดินด้วยสองขาหลัง มีกระโหลกขนาดใหญ่พร้อมเขี้ยวซี่โตกินเนื้อเป็นอาหาร[/font][/t][/center]

[/Center]       โบราณว่าดูหนังดูละครแล้วให้ย้อนดูตัว นักวิทยาศาสตร์ทั่วทุกมุมโลกไม่ได้เห็นก็อดซิลล่าเป็นแค่สัตว์ประหลาดไร้สาระ แม้มันจะอาละวาดได้แค่บนหน้าจอ แต่ก็อดซิลล่ากลับสร้างคำถามสนุกๆ เชื่อมโลกจินตนาการและโลกวิทยาศาสตร์มาตลอด 60 ปี
       
       หลายวันก่อนนายปรี๊ดถูกเพื่อนสนิทลากไปดูหนังเรื่องก็อดซิลล่าแบบงงๆ ถึงแม้ไม่ได้เป็นแฟนพันธุ์หนังสัตว์ประหลาด แต่ดูจบ แล้วก็สนุกดี แถมถูกจริตนักชีววิทยายิ่งนัก เพราะโครงสร้างหลักๆ ของหนังดำเนินเรื่องด้วย “พฤติกรรมของสัตว์ประหลาด” ซึ่งผู้กำกับอ้างอิงจากสัตว์ที่มีตัวตนอยู่จริง จนหลายคนในโลกออนไลน์ก็เห็นคล้ายกันว่าหนังภาคนี้เหมือนไปนั่งดูสารคดีสัตว์เลย
       
       เอาเป็นว่านายปรี๊ดจะไม่เปิดเผยเนื้อหาให้คอหนังโวยว่า “ฉันยังไม่ได้ดูอย่ามาสปอยล์” อีกอย่างก็ไม่ได้ค่าโฆษณาสักบาท แต่ประเด็นที่ชวนสะกิดให้คุยวิทย์ ก็คือนักวิทยาศาสตร์จำนวนมากไม่ได้คิดว่าก๊อดซิลล่าไร้สาระ เป็นแค่สัตว์ประหลาดที่สักแต่อาละวาดระเบิดภูเขา พ่นไฟเผาตึกรามบ้านช่อง แต่หลายคนกลับมีคำถามมากมายที่น่าสนใจเกี่ยวกับตัวมัน เช่น การเกิดสัตว์ประหลาดที่วิวัฒนาการข้ามขั้นแบบนี้จะมีจริงได้ไหม มันมีโอกาสเกิดลูกหลานไดโนเสาร์ตามคนมาป่วนโลกจริงหรือเปล่า?
       
       คำว่า “Hyper Evolution” หรือ “วิวัฒนาการก้าวกระโดด” มักถูกอ้างถึงในนิยาย หนังสือการ์ตูน และหนังหลายเรื่อง เช่น ก็อดซิลล่า หนังอวกาศสตาร์เท็ค และการกลายพันธุ์ของพวกฮีโร่แบบ x-men สไปเดอร์แมน แคทวูแมน นี่ก็ถูกอ้างว่าเกิดจากการกลายพันธุ์ข้ามขั้นแบบไม่ปกติ คือ ลัดวงจร ลดเวลา หรือก้าวข้ามสายแบบที่ในธรรมชาติคงจะไม่มีทางเกิด ก็อดซิลล่าและเพื่อนพองสัตว์ประหลาดก็ถูกอ้างอิงว่าอาจเกิดวิวัฒนาการก้าวกระโดดจากผลของสารกัมมันตรังสี
       
       ในธรรมชาตินักวิทยาศาสตร์เคยสงสัยเหมือนกันว่า กระบวนการเกิดวิวัฒนาการ หรือการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของสัตว์ชั้นสูงนั้นเกิดขึ้นได้เร็วแค่ไหน การเกิดวิวัฒนาการก้าวกระโดด จะพบได้จริงหรือเปล่า? กรณีศึกษาที่ดูจะมีหน้าตาใกล้เคียงกับก็อดซิลล่ามากที่สุดน่าจะการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของ “กิ้งก่า” ซึ่งเป็นญาติห่างมากๆ ของมันที่อาศัยในหมู่เกาะของทะเลเอเดรียติก (Adriatic Sea) ประเทศอิตาลี
       งานวิจัยนี้เกิดแบบไม่ตั้งใจ และเกี่ยวข้องกับสงครามด้วย
       
       ในปี 2514 ดันแคน ไอร์สชิค (Duncan Irschick) ซึ่งปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ด้านชีววิทยา ที่ University of Massachusetts Amherst ได้ทดลองย้ายกิ้งก่าอิตาเลียนวอลล์ (Italian wall lizard) หรือ Podarcis sicula จำนวน 5 คู่ จากเกาะ Pod Kopiste ไปไว้ที่เกาะใกล้ๆ แต่มีขนาดเล็กกว่า ชื่อเกาะ Pod Mrcaru หลังจากนั้นก็เกิดสงครามขึ้นในโครเอเชีย ทำให้ ดร.ไอร์สชิค กลับมาทำงานบนเกาะไม่ได้ ต้องทอดทิ้งกิ้งก่าเหล่านั้นไว้ตามยถากรรม
       
       จนเวลาผ่านไป 36 ปี เมื่อ ดร.ไอร์สชิค กลับขึ้นเกาะได้อีกครั้ง ก็พบว่ากิ้งก่าลูกหลานนับพันของกิ้งก่าบนเกาะใหม่ “มันเปลี่ยนไป” เป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างร่างกาย และพฤติกรรมอย่างมโหฬาร กิ้งก่าเหล่านั้นมีหัวที่ใหญ่และยาวขึ้น มีแรงกัดที่แรงขึ้น และที่น่าตกใจที่สุดคือ “มันเปลี่ยนจากกินแมลงมากินพืชเป็นอาหารหลัก” ทำให้โครงสร้างของทางเดินอาหารเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง โดยมีส่วนของลำไส้ตอนต้น (cecal valves) ที่ขยายขนาดขึ้นเพื่อรองรับการหมักเส้นใยอาหาร
       
       เมื่อเปรียบเทียบดีเอ็นเอ ก็พบว่ากิ้งก่าบนเกาะใหม่ มีลักษณะพันธุกรรมเหมือนเปี๊ยบกับกิ้งก่าบนเกาะเก่า ไม่มีใครเล่นตลกเอากิ้งก่าจากที่ไหนสลับ หรืออพยพมาจากไหนแน่นอน แต่แรงขับสำคัญก็คือ “อาหาร” ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เพราะบนเกาะเก่ามีแมลงจำนวนมากกิ้งก่ารุ่นเดิมจึงเป็นสัตว์กินสัตว์ไล่จับแมลงกินได้เต็มที่ แต่บนเกาะใหม่มีแมลงน้อยแต่มีพืชปริมาณมากกิ้งก่าจึงต้องปรับโครงสร้างให้อยู่รอดกับแหล่งอาหารชนิดใหม่ นักชีววิทยาเรียกการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างและพฤติกรรมแบบก้าวกระโดดนี้ว่า “Rapid Evolution” ซึ่งดูจะใกล้เคียงกับ “วิวัฒนาการก้าวกระโดด” ที่อ้างถึงในหนังได้มากที่สุด