ป่วยโรคสร้างเองพุ่ง มากกว่าเอดส์3-7เท่า
สธ.เผยคนไทยขณะนี้ป่วยเป็นโรคที่สร้างเองมากกว่าโรคเอดส์ 3-7 เท่า มากกว่าไข้เลือดออก 70 เท่า อันดับ 1 คือ เบาหวานและความดันโลหิตสูง ยอดป่วยรวมทั่วประเทศกว่า 7 ล้านราย แนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เร่งพัฒนาบริการลดป่วย โดยตั้งทัพสุขภาพระดับอำเภอ
นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.ชรัตน์ วสุธาดา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดตราด, นพ.พิเชียร วุฒิสถิรภิญโญ ผอ.รพ.ตราด ตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ตะกาง ต.ตะกาง อ.เมือง จ.ตราด เพื่อติดตามการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขในด้านการป้องกันโรค ส่งเสริมสุขภาพดีแก่ประชาชนในพื้นที่ เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยจากโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
นพ.วชิระกล่าวว่า ปัญหาการเจ็บป่วยของคนไทยอันดับ 1 ในประเทศขณะนี้เกิดมาจากโรคที่ประชาชนสร้างเอง เช่น โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน มีผู้ป่วยมากกว่า 7 ล้านคน บางคนเป็นทั้ง 2 โรค รวมแล้วมากกว่าโรคติดเชื้อหลายเท่าตัว เช่น มากกว่าโรคเอดส์ 3-7 เท่าตัว มากกว่าไข้เลือดออกประมาณ 70 เท่าตัว ที่สำคัญเมื่อป่วยแล้วจะเป็นโรคเรื้อรังติดตัว ไม่มียารักษาหายขาด ต้องเข้า-ออกโรงพยาบาลตลอดชีวิต และมักพบในวัยกลางคนขึ้นไป โดยขณะนี้จำนวนผู้ป่วยนอกของ รพ.มีประมาณ 40% เป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
ปัจจุบันได้ให้ทุกอำเภอตั้งทีมเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ โดยมี รพ.ชุมชนเป็นแม่ข่ายและมี รพ.สต.ทั่วประเทศ 9,750 แห่ง เป็นลูกข่าย ดำเนินงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน อสม. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยมีพฤติกรรมสุขภาพดี เหมาะกับวิถีชีวิตชุมชน ไม่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง ส่วนกลุ่มที่ป่วยแล้วได้รับการดูแลเข้าถึงบริการ ควบคุมอาการให้อยู่ในระดับปกติ ไม่เกิดโรคแทรกซ้อนอันตราย หากสำเร็จจะเป็นการยกระดับการพัฒนาสุขภาพครั้งยิ่งใหญ่ของไทย เนื่องจากเป็นมาตรการที่ยังไม่มีประเทศใดในโลกประสบผลสำเร็จ และแนวทางที่ สธ.ทำครั้งนี้เป็นการระดมพลังความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ในอนาคตจะไม่ได้เป็นหน้าที่ของสาธารณสุขเพียงฝ่ายเดียว
นพ.ชรัตน์กล่าวว่า ในปี 2557 จ.ตราด มีผู้ป่วยโรคเบาหวาน 6,034 ราย โรคความดันโลหิตสูง 9,447 ราย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตราดได้กำหนดทิศทางจัดการจัดการโรค โดยมีเป้าหมายหลักคือ ลดเสี่ยง ลดโรค ลดภาวะแทรกซ้อน และลดพิการหรือเสียชีวิต มีคณะกรรมการพัฒนาระบบและขับเคลื่อนการควบคุมป้องกันโรคระดับจังหวัดและอำเภอ โดยตั้งเป้าพัฒนาให้จังหวัดตราด เป็นเมืองตราดสุขภาพดี ด้วย 6 อ. 2 ส. 1 ร. คืออาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ อบายมุข อนามัยสิ่งแวดล้อม อโรคยา สุขภาพดีวิถีไทย สายใยรักแห่งครอบครัว โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ สนับสนุนให้มีชุมชนสุขภาพดี อำเภอละ 1 ชุมชน เพื่อให้เป็นอำเภอต้นแบบสุขภาพ 4 ด้าน คือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง บุหรี่ แอลกอฮอล์ เอดส์ และไข้เลือดออก
สำหรับที่ ต.ตะกาง มี 6 หมู่บ้าน ประชากรทั้งหมด 1,986 คน มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 98 ราย เบาหวาน 48 ราย เป็นทั้ง 2 โรค 57 ราย เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด 36 ราย และโรคมะเร็ง 7 ราย รพ.ตะกาง และ รพ.ตราด ซึ่งเป็นหัวหน้าทีมเครือข่ายสุขภาพในเขตอำเภอเมือง บูรณาการทำงานส่งเสริมป้องกัน รักษา ฟื้นฟู และคุ้มครองผู้บริโภค เริ่มดำเนินการพื้นที่ต้นแบบที่บ้านหัวหนอง ต.ตะกาง อ.เมือง ในปี 2557 มีกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ป้องกันโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โดยใช้วอล์กแรลลี่ 5 ฐาน คือ ฐานวัดรอบเอว ฐานตรวจระดับน้ำตาลและวัดความดันโลหิต ฐานหลากหลายวิธีพิชิตพุง ฐานการเลือกอาหารและฐานอาหารหวาน-เค็มน้อย สร้างความสนใจประชาชน จดจำได้ดีกว่าการฟังบรรยาย มีสถานที่ออกกำลังกายของชุมชน ปลูกฝังพฤติกรรมเด็กในศูนย์เด็กเล็กกินผัก ผลไม้ ลดหวาน มัน เค็ม
ผลการดำเนินงานพบว่า ประชาชนใน ต.ตะกาง หุ่นดี รอบเอวอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือชายไม่เกิน 34 นิ้ว หญิงไม่เกิน 32 นิ้ว ผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลได้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพิ่มจาก 8% ในปี 2555 เป็น 35% ในปี 2557 ส่วนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ควบคุมได้ 62% จำนวนผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ลดลงจาก 8% เหลือ 6% ส่วนโรคความดันโลหิตสูงลดลง จาก 12% เหลือ 9% มีผู้สูงอายุอายุยืนมากกว่า 90 ปี จำนวน 13 คน ในจำนวนนี้มีอายุ 100 ปี 1 คน ไม่มีโรคประจำตัว
ด้าน นพ.พิเชียรกล่าวว่า ขณะนี้ทางจังหวัดตราดได้เริ่มทดลองทำกล่องยา 3 สี คือ 1.การเพิ่มขีดความสามารถของ รพ.สต.ในการควบคุม ป้องกันโรค 2.ให้ รพ.สต.มีพยาบาลเวชปฏิบัติที่สามารถจ่ายยาได้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์จาก รพ.จังหวัด และ 3.ให้มีทีมสุขภาพประกอบด้วย แพทย์ เภสัชกร พยาบาล นักโภชนาการ นักกายภาพ นำยาที่นอกเหนือจากที่ รพ.สต.จ่ายได้ลงพื้นที่หมู่บ้านและตรวจสุขภาพให้กับประชาชน และเพื่อสอนเจ้าหน้าที่ในการรักษาผู้ป่วย ทั้งนี้ เพื่อช่วยลดความแออัดใน รพ.ใหญ่ และทำให้ประชาชนไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทางเป็นวันๆ เพื่อพบแพทย์.
***************************
ที่มา : http://www.thaipost.net/news/
สธ.เผยคนไทยขณะนี้ป่วยเป็นโรคที่สร้างเองมากกว่าโรคเอดส์ 3-7 เท่า มากกว่าไข้เลือดออก 70 เท่า อันดับ 1 คือ เบาหวานและความดันโลหิตสูง ยอดป่วยรวมทั่วประเทศกว่า 7 ล้านราย แนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เร่งพัฒนาบริการลดป่วย โดยตั้งทัพสุขภาพระดับอำเภอ
นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.ชรัตน์ วสุธาดา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดตราด, นพ.พิเชียร วุฒิสถิรภิญโญ ผอ.รพ.ตราด ตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ตะกาง ต.ตะกาง อ.เมือง จ.ตราด เพื่อติดตามการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขในด้านการป้องกันโรค ส่งเสริมสุขภาพดีแก่ประชาชนในพื้นที่ เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยจากโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
นพ.วชิระกล่าวว่า ปัญหาการเจ็บป่วยของคนไทยอันดับ 1 ในประเทศขณะนี้เกิดมาจากโรคที่ประชาชนสร้างเอง เช่น โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน มีผู้ป่วยมากกว่า 7 ล้านคน บางคนเป็นทั้ง 2 โรค รวมแล้วมากกว่าโรคติดเชื้อหลายเท่าตัว เช่น มากกว่าโรคเอดส์ 3-7 เท่าตัว มากกว่าไข้เลือดออกประมาณ 70 เท่าตัว ที่สำคัญเมื่อป่วยแล้วจะเป็นโรคเรื้อรังติดตัว ไม่มียารักษาหายขาด ต้องเข้า-ออกโรงพยาบาลตลอดชีวิต และมักพบในวัยกลางคนขึ้นไป โดยขณะนี้จำนวนผู้ป่วยนอกของ รพ.มีประมาณ 40% เป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
ปัจจุบันได้ให้ทุกอำเภอตั้งทีมเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ โดยมี รพ.ชุมชนเป็นแม่ข่ายและมี รพ.สต.ทั่วประเทศ 9,750 แห่ง เป็นลูกข่าย ดำเนินงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน อสม. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยมีพฤติกรรมสุขภาพดี เหมาะกับวิถีชีวิตชุมชน ไม่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง ส่วนกลุ่มที่ป่วยแล้วได้รับการดูแลเข้าถึงบริการ ควบคุมอาการให้อยู่ในระดับปกติ ไม่เกิดโรคแทรกซ้อนอันตราย หากสำเร็จจะเป็นการยกระดับการพัฒนาสุขภาพครั้งยิ่งใหญ่ของไทย เนื่องจากเป็นมาตรการที่ยังไม่มีประเทศใดในโลกประสบผลสำเร็จ และแนวทางที่ สธ.ทำครั้งนี้เป็นการระดมพลังความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ในอนาคตจะไม่ได้เป็นหน้าที่ของสาธารณสุขเพียงฝ่ายเดียว
นพ.ชรัตน์กล่าวว่า ในปี 2557 จ.ตราด มีผู้ป่วยโรคเบาหวาน 6,034 ราย โรคความดันโลหิตสูง 9,447 ราย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตราดได้กำหนดทิศทางจัดการจัดการโรค โดยมีเป้าหมายหลักคือ ลดเสี่ยง ลดโรค ลดภาวะแทรกซ้อน และลดพิการหรือเสียชีวิต มีคณะกรรมการพัฒนาระบบและขับเคลื่อนการควบคุมป้องกันโรคระดับจังหวัดและอำเภอ โดยตั้งเป้าพัฒนาให้จังหวัดตราด เป็นเมืองตราดสุขภาพดี ด้วย 6 อ. 2 ส. 1 ร. คืออาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ อบายมุข อนามัยสิ่งแวดล้อม อโรคยา สุขภาพดีวิถีไทย สายใยรักแห่งครอบครัว โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ สนับสนุนให้มีชุมชนสุขภาพดี อำเภอละ 1 ชุมชน เพื่อให้เป็นอำเภอต้นแบบสุขภาพ 4 ด้าน คือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง บุหรี่ แอลกอฮอล์ เอดส์ และไข้เลือดออก
สำหรับที่ ต.ตะกาง มี 6 หมู่บ้าน ประชากรทั้งหมด 1,986 คน มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 98 ราย เบาหวาน 48 ราย เป็นทั้ง 2 โรค 57 ราย เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด 36 ราย และโรคมะเร็ง 7 ราย รพ.ตะกาง และ รพ.ตราด ซึ่งเป็นหัวหน้าทีมเครือข่ายสุขภาพในเขตอำเภอเมือง บูรณาการทำงานส่งเสริมป้องกัน รักษา ฟื้นฟู และคุ้มครองผู้บริโภค เริ่มดำเนินการพื้นที่ต้นแบบที่บ้านหัวหนอง ต.ตะกาง อ.เมือง ในปี 2557 มีกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ป้องกันโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โดยใช้วอล์กแรลลี่ 5 ฐาน คือ ฐานวัดรอบเอว ฐานตรวจระดับน้ำตาลและวัดความดันโลหิต ฐานหลากหลายวิธีพิชิตพุง ฐานการเลือกอาหารและฐานอาหารหวาน-เค็มน้อย สร้างความสนใจประชาชน จดจำได้ดีกว่าการฟังบรรยาย มีสถานที่ออกกำลังกายของชุมชน ปลูกฝังพฤติกรรมเด็กในศูนย์เด็กเล็กกินผัก ผลไม้ ลดหวาน มัน เค็ม
ผลการดำเนินงานพบว่า ประชาชนใน ต.ตะกาง หุ่นดี รอบเอวอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือชายไม่เกิน 34 นิ้ว หญิงไม่เกิน 32 นิ้ว ผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลได้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพิ่มจาก 8% ในปี 2555 เป็น 35% ในปี 2557 ส่วนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ควบคุมได้ 62% จำนวนผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ลดลงจาก 8% เหลือ 6% ส่วนโรคความดันโลหิตสูงลดลง จาก 12% เหลือ 9% มีผู้สูงอายุอายุยืนมากกว่า 90 ปี จำนวน 13 คน ในจำนวนนี้มีอายุ 100 ปี 1 คน ไม่มีโรคประจำตัว
ด้าน นพ.พิเชียรกล่าวว่า ขณะนี้ทางจังหวัดตราดได้เริ่มทดลองทำกล่องยา 3 สี คือ 1.การเพิ่มขีดความสามารถของ รพ.สต.ในการควบคุม ป้องกันโรค 2.ให้ รพ.สต.มีพยาบาลเวชปฏิบัติที่สามารถจ่ายยาได้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์จาก รพ.จังหวัด และ 3.ให้มีทีมสุขภาพประกอบด้วย แพทย์ เภสัชกร พยาบาล นักโภชนาการ นักกายภาพ นำยาที่นอกเหนือจากที่ รพ.สต.จ่ายได้ลงพื้นที่หมู่บ้านและตรวจสุขภาพให้กับประชาชน และเพื่อสอนเจ้าหน้าที่ในการรักษาผู้ป่วย ทั้งนี้ เพื่อช่วยลดความแออัดใน รพ.ใหญ่ และทำให้ประชาชนไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทางเป็นวันๆ เพื่อพบแพทย์.
***************************
ที่มา : http://www.thaipost.net/news/