ผู้เขียน หัวข้อ: เวิร์ลคัพปีนี้ผู้ป่วยอัมพาตเตะบอลแรกได้ด้วย ชุดไอรอนแมน  (อ่าน 1644 ครั้ง)

ออฟไลน์ tikky

  • Global Moderator
  • medtech ปี เอก
  • *****
  • กระทู้: 1985










นิโคเลลิส กับชุดโครงกระดูกกล ที่จะช่วยผู้ป่วยอัมพาตเคลื่อนไหวได้อีกครั้ง (ภาพประกอบทั้งหมดจากรอยเตอร์)
 
       ฟุตบอลโลกปีนี้ชาวโลกจะได้เห็นชุด “ไอรอนแมน” ที่ช่วยให้ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกกลับมาเดินได้อีกครั้ง และยังจะเป็นผู้เตะบอลแรกระหว่างพิธีเปิดในการแข่งขันลูกหนังระดับโลกที่บราซิลเป็นเจ้าภาพ
       
       ชุดไอรอนแมนดังกล่าวคือชุดโครงกระดูกอิเล็กทรอนิกส์สำหรับสวมนอกร่างกายที่ ไมเกิล นิโคเลลิส (Miguel Nicolelis) นักประสาทวิทยาศาสตร์ชาวบราซิล ได้ระดมนักวิทยาศาสตร์ 156 คนจากทั่วโลกมาช่วยกันพัฒนา ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกสามารถกลับมาเดินได้อีกครั้ง และจะสาธิตให้โลกได้เห็นภายในพิธีเปิดฟุตบอลโลก 2014 ที่เมืองเซาเปาโลของบราซิล แต่ยังไม่มีการเปิดเผยว่าใครจะเป็นผู้สวมชุดดังกล่าว
       
       ตามที่เผยกับเอเอฟพีนิโคเลลิสซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ประจำมหาวิทยาลัยดุค (Duke University) ในสหรัฐฯ ด้วยนั้นกล่าวว่า ผลงานดังกล่าวเป็นโครงกระดูกภายนอกร่างกายผลงานแรกที่ทำงานด้วยการควบคุมผ่านสมอง และส่งผลตอบสนองกลับไปยังผู้ป่วย โดยงานนี้เป็นผลจากการทำงานของเขากว่า 30 ปี และยังมีผลงานวิจัยตีพิมพ์กว่า 200 รายงาน รวมถึงการทดลองระดับคลีนิคอีกนับไม่ถ้วน
       
       นิโคเลลิสเผยว่า เขาได้แนวคิดเกี่ยวกับชุดดังกล่าวเมื่อปี 2002 ขณะที่นักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายเพิ่งเริ่มสนใจโครงกระดูกภายนอกสำหรับหุ่นยนต์ และในปี 2009 หลังจากที่ทราบบราซิลได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก ก็มีคนขอความเห็นจากเขาในการจัดแสดงที่แตกต่างจากที่เคยจัดกันมา เขาจึงเสนอให้ทำการสาธิตทางด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อบอกแก่ชาวโลกว่าบราซิลนั้นกำลังลงทุนและมีศักยภาพของมนุษย์ที่จะทำอะไรได้มากกว่าฟุตบอล
       
       การพัฒนาชุดโครงกระดูกอิเล็กทรอนิกส์นี้เป็นไปภายใต้โครงการ “กลับมาเดินอีกครั้ง” (The Walk Again Project) ซึ่งกระดูกกลสำหรับสวมนอกร่างกายจะช่วยผยุงร่างกายส่วนล่างของผู้ป่วยอัมพาต และตอบสนองต่อคำสั่งไร้สาย ที่จากอิเล็กโทรดซึ่งวางอยู่ที่หนังศีรษะหรือในสมองของผู้ที่สวมชุด และช่วยให้ผู้สวมสามารถเดินได้ และเตะบอลลูกแรกในพิธีเปิดฟุตบอลโลกปี 2014 นี้ที่บราซิลเป็นเจ้าภาพได้
       
       เมื่อเดือน มี.ที่ผ่านมานิโคเลลิสและทีมอีกราว 40 คนได้ทิ้งงานที่ห้องวิจัย แล้วเดินทางไปเยือนเซาเปาโล เมืองใหญ่ที่วุ่นวายของบราซิล เพื่อเตรียมความพร้อมสุดท้าย และเมื่อวันที่ 24 เม.ย.ความพยายามของพวกเขาก็สมัฤทธิผล เมื่อผู้ป่วยอัมพาตสามารถย่างก้าวแรกด้วยชุดโครงกระดูกอิเล็กทรอนิกส์ได้
       
       ทีมวิจัยพวกเขาได้ตั้งชื่อชุดดังกล่าวว่า “บรา-ซานโตส ดูมงต์” (BRA-Santos Dumont) ซึ่งเป็นการผสมจากคำว่าบราซิล และ อัลเบอร์โต ซานโตส-ดูมงต์ (Alberto Santos-Dumont) นักบิน นักประดิษฐ์และผู้มีชีวิตหรูหรา ที่สาธิตให้เห็นว่า สามารถควบคุมการบินได้ด้วยการขับเครื่องบินของตัวเองไปรอบหอไอเฟล   
 
เวิร์ลคัพปีนี้ผู้ป่วยอัมพาตเตะบอลแรกได้ด้วย “ชุดไอรอนแมน”
ชุดโครงกระดูกกลที่สั่งงานด้วยสัญญาณจากสมองผู้สวม จะช่วยให้ร่างกายท่อนล่างเคลื่อนไหวได้
 
เวิร์ลคัพปีนี้ผู้ป่วยอัมพาตเตะบอลแรกได้ด้วย “ชุดไอรอนแมน”
นิโคเลลัสระหว่างพัฒนาชุดกลไอรอนแมนที่จะช่วยให้ผู้ป่วยอัมพาตเคลื่อนไหว และแสดงการเตะบอลแรกภายในพิธีเปิดบอลโลกที่บราซิลเป็นเจ้าภาพ
 
เวิร์ลคัพปีนี้ผู้ป่วยอัมพาตเตะบอลแรกได้ด้วย “ชุดไอรอนแมน”
จอภาพ 3 มิติ แสดงการเคลื่อนไหวของขา
 
เวิร์ลคัพปีนี้ผู้ป่วยอัมพาตเตะบอลแรกได้ด้วย “ชุดไอรอนแมน”
ภาพอิเล็กโทรดที่วางบนหนังเทียม
 
เวิร์ลคัพปีนี้ผู้ป่วยอัมพาตเตะบอลแรกได้ด้วย “ชุดไอรอนแมน”
นิโคเลลัสโชว์อิเล็กโทรดที่ใช้รับสัญญาณสมอง
 
เวิร์ลคัพปีนี้ผู้ป่วยอัมพาตเตะบอลแรกได้ด้วย “ชุดไอรอนแมน”
นิโคเลลัสโชว์ลูกฟุตบอลที่คลุมด้วยเซนเซอร์รับสัญญาณ