ผู้เขียน หัวข้อ: BUN (blood urea nitrogen)  (อ่าน 7572 ครั้ง)

ออฟไลน์ Por-MedTech

  • Global Moderator
  • medtech ปี เอก
  • *****
  • กระทู้: 1192
    • อีเมล์
BUN (blood urea nitrogen)
« เมื่อ: กรกฎาคม 03, 2014, 06:23:12 pm »
BUN (blood urea nitrogen)


           เมื่อโปรตีนจากอาหารถูกย่อยโดยเอ็นไซม์ในกระเพาะอาหาร และลำไส้ให้เป็นกรดอะมิโนแล้ว    จะถูกดูดซึมเข้าสู่หลอดเลือดที่ลำไส้เล็ก และถูกนำไปที่ตับ ประมาณ 75 % ของกรดอะมิโนจะถูกนำมาใช้สำหรับการสังเคราะห์โปรตีนที่ร่างกายต้องการ  และอีก 25% จะถูกนำไปใช้สำหรับสร้างพลังงานและสร้างสารอื่นๆ ขบวนการสลายกรดอะมิโนที่เกิดขึ้นในร่างกายมี 2 ปฏิกิริยา คือ

1.ปฏิกิริยา decarboxylation
2.ปฏิกิริยา deamination
            การเกิดปฏิกิริยา deamination ของกรดอะมิโนจะทำให้ได้แอมโมเนียออกมา  แอมโมเนียที่ได้ร่างกายอาจนำไปใช้สำหรับสังเคราะห์สารประกอบที่มีไนโตรเจนอื่นๆ  ส่วนที่เกินความต้องการจะถูกขับออกจากร่างกายในรูปของยูเรียโดยวัฏจักร urea (urea cycle)

            การสังเคราะห์ยูเรียไนโตรเจนในซีรั่ม เป็นการทดสอบที่ใช้กันแพร่หลายสำหรับตรวจหน้าที่ของไตอย่างคร่าวๆ และนิยมส่งตรวจควบคู่กับการตรวจ creatinine  ทั้งนี้เนื่องจากค่าทั้งสองสามรถใช้วินิจฉัยแยกภาวะต่างๆของไตได้ เช่น

- Prerenal hyperuremia (Cardiac depensation, water depletion, increase protein catabolism)
- Renal hyperuremia (glomerulo nephiritis,chronic nephiritis, poly cystic kidney, nephrosclerocis, tubular necrosis)
- Postrenal hyperuremia (Obstruction of the urinary tract)
             การหาค่า urea ในซีรั่มจะมีความไวในการทดสอบหน้าที่ของไตน้อยกว่าการทำ urea clearance เพราะระดับของยูเรียในกระแสเลือดจะเริ่มมีค่าสูงขึ้นหลังจากการกรองของไตได้ล้มเหลวมากกว่า 50%  อย่างไรก็ตามการวิเคราะห์ยูเรีย ในเลือดก็ยังมีประโยชน์สำหรับการติดตามการรักษาผู้ป่วยโรคไตล้มเหลว  และค่าของยูเรียในเลือดที่เพิ่มขึ้นอย่างเฉียบพลัน อาจใช้เป็นตัวบ่งชี้ว่าเกิดภาวะไตล้มเหลว

             ในการรายงานผลการวิเคราะห์ยูเรียจะรายงานในรูปของยูเรียไนโตรเจน   ซึ่งมีที่มาจากการเปรียบเทียบไนโตรเจนในยูเรียไนโตรเจนในกลุ่มสารประกอบที่ไม่ใช่โปรตีน (nonprotein nitrogen;NPN)   แต่เนื่องจากปัจจุบันไม่นิยมหาค่า NPN   ดังนั้นการรายงานผลยูเรียในรูปของยูเรียไนโตรเจนจึงมีคุณค่าในทางปฏิบัติน้อย  หากต้องการเปลี่ยนค่ายูเรียไนโตรเจนเป็นยูเรีย  สามารถทำได้โดยคูณด้วย factor 2.14

UREA  = BUN x 2.14

การตรวจหาปริมาณยูเรีย แบ่งเป็น 3 วิธี ใหญ่ๆ คือ

          วิธีตรง  (Direct mothod)  เป็นการหาปริมาณของยูเรียทำปฏิกิริยา condensation กับ diacetyl monoxime  ในภาวะของกรดเข้มข้นที่ร้อนให้สีที่วัดได้  แต่วิธีนี่มีข้อเสียมมาก  และหาค่ายูเรียที่มีปริมาณสูงได้ผลไม่ดี  ในปี 1965 March และพวก  จึงได้ดัดแปลงวิธีการ  โดยใช้ Thiosemicarbazide ซึ่งเป็นสาร oxidize เติมลงไป  เพื่อให้สีที่เข้มข้นขึ้นและคงถาวร นอกจากนี้ยังมีผู้ใช้สาร oxidize ตัวอื่นๆ เช่น  โปรแตสเซียมเปอร์ซัลเฟส    กรดอาร์เซนิค  กรดเปอร์คลอริค   เป็นต้น
วิธีอ้อม (Indirect method) เป็นวิธีที่ใช้กันมาแต่โบราณ  สามารถหาปริมาณของยูเรียได้โดยไม่ต้องใช้เครื่อง spectophotometer แต่ใช้วิธีการไตเตรตหาปริมาณแอมโมเนียที่เกิดขึ้น  หลักการของวิธีทางอ้อม  อาศัยปฏิกิริยาของเอ็นไซม์ urease ย่อยยูเรีย ให้เป็นแอมโมเนีย แล้วทำการวิเคราะห์หาปรืมาณแอมโมเนียที่เกิดขึ้น  โดยใช้วิธีการหลายๆแบบเช่น
                      - การไตเตรตกับกรดที่ทราบความเข้มข้นแล้ว  โดยใช้วิธีของ Vanslyke หรือ Conway

                     - การทำให้เกิดโดยวิธี Nesslerization

                     - การทำให้เกิดสีโดยใช้ปฏิกิริยา Berthelot's reaction

3. วิธีอื่นๆ (Miscellaneous) ใช้วิธีการปลีกย่อยต่างๆ หลายวิธี เช่น วิธี Ehrlich, Urograph และ Azostix เป็นต้น

หลักการตรวจวิเคราะห์

หลักการ


Enzyme colorimetric method

Urea + H2O ——— urease ———> 2NH3 + CO2

NH3 + ∝-Ketoglutarate + NADH ——— GLDH ———> L-glutamate + NAD

       เอนไซม์ Urease hydrolyze urea ได้ ammonia และ carbondioxide ซึ่ง amonia จะถูกใช้ในการสลาย ∝-Ketoglutarate โดยเอนไซม์ glutamate dehydrogenase และเกิดการ oxidation ของ NADH ไปเป็น NAD

       การเปลี่ยนแปลงการดูดกลืนแสง กับเวลาอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของ NADH ไปเป็น NAD นั้น จะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับความเข้มขันของ BUN ในกระแสเลือด

 

Normal Range

- serum      5-25 mg/dl

- Urine      7-20 g/24 hrs.

Interpretation

HIGH 
- Renal insufficeincy
- Urinary tract obstruction
- Dehydration

LOW
- Hepatic failure
- Nephrosis
- Diabetes insipidus
- Pregnancy
- Over hydration
- Diuresis



******************************
ที่มา : http://www.medtechzone.com/