สถาบันพยาธิวิทยา กรมการแพทย์เผยงานบริการตรวจค้นหาโรคมะเร็งด้วยเทคนิคพิเศษ

กรมการแพทย์ ชูสถาบันพยาธิวิทยานำเทคนิคอณูพยาธิวิทยา ตรวจค้นหาโรคมะเร็งระดับโมเลกุล ช่วยให้แพทย์วางแผนการรักษาให้เหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพสูง
นายแพทย์อุดม ภู่วโรดม ผู้อำนวยการสถาบันพยาธิวิทยา เปิดเผยว่า สถาบันพยาธิวิทยา กรมการแพทย์ในฐานะที่มีบทบาทในการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ถ่ายทอด และพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีทางการแพทย์ด้านพยาธิวิทยา ได้นำเทคนิคอณูพยาธิวิทยา ซึ่งเป็นงานที่มุ่งเน้นการตรวจวินิจฉัยโรค จากการตรวจวิเคราะห์ระดับโมเลกุลต่างๆ เช่น สารพันธุกรรม (DNA, RNA และโครโมโซม) ในตัวอย่างชิ้นเนื้อหรือสารคัดหลั่งจากร่างกายของผู้ป่วย เช่น การตรวจมะเร็ง การตรวจการกลายพันธุ์ของยีนที่บ่งชี้การตอบสนองของยาหรืออาการของโรค ทั้งนี้ การตรวจทางอณูพยาธิวิทยาต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง และใช้เครื่องมือที่มีราคาแพง จึงมีห้องปฏิบัติการน้อยราย ที่เปิดให้บริการด้านอณูพยาธิวิทยา แต่ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น ประกอบกับความจำเป็นในการนำข้อมูลระดับโมเลกุลไปใช้วินิจฉัยและพยากรณ์โรค เพื่อทำนายการตอบสนองของยาหรือบ่งบอกความเป็นไปของโรค ดังนั้น งานทางด้านอณูพยาธิวิทยาจึงมีความสำคัญและมีบทบาทมากในการใช้วินิจฉัยและพยากรณ์โรคต่างๆ
ความสำคัญของการตรวจวิเคราะห์ทางด้านอณูพยาธิวิทยา เช่น การตรวจการกลายพันธุ์ของยีนKRAS ซึ่งเป็นยีนชนิดหนึ่งในร่างกายมนุษย์ ที่สามารถใช้เป็นตัวชี้วัดในการคาดการณ์ถึงผลการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ ในระยะลุกลามได้ โดยมีอยู่ 2 ชนิด คือ ชนิดปกติที่ไม่กลายพันธุ์ และชนิดกลายพันธุ์ ซึ่งยีนต่างชนิดกันจะให้ผลการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาที่แตกต่างกัน ดังนั้นการตรวจยีน KRAS ในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ เพื่อบ่งชี้ว่าเป็น ชนิดกลายพันธุ์หรือไม่ก่อนการรักษาจะช่วยให้แพทย์วางแผนการรักษาให้เหมาะสมและให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดกับผู้ป่วยแต่ละราย
การตรวจพิเศษทางด้านอณูพยาธิวิทยา ของสถาบันพยาธิวิทยา มีการนำมาใช้ในการตรวจวินิจฉัยและวิเคราะห์โรคในระดับโมเลกุลครั้งแรกในปี 2552 และเปิดให้บริการแก่หน่วยงาน สถานพยาบาลต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน ทั่วประเทศไทย โดยมีการให้บริการอณูพยาธิวิทยา ตั้งแต่ปี 2552-2556 จำนวน 960 ราย ซึ่งงานอณูพยาธิวิทยา มีความพร้อมทั้งด้านทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถและมากด้วยประสบการณ์ทำงาน มีเครื่องมือที่ทันสมัย และเพียงพอกับการใช้งาน เช่น เครื่อง Pyrosequencing เครื่อง PCR เครื่อง Real-time PCR เครื่อง nanodrop เครื่อง Gel Documentation ตู้ปลอดเชื้อ Biological Safety Cabinets class II เป็นต้น ซึ่งจำนวนตัวอย่างที่หน่วยงาน และสถานพยาบาลต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน ส่งตรวจที่งานอณูพยาธิวิทยามีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในทุก ๆ ปี
งานอณูพยาธิวิทยา ของสถาบันพยาธิวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้พัฒนาเทคนิคการตรวจอย่างต่อเนื่อง โดยในปี พ.ศ.2553 ได้พัฒนาการตรวจหาปริมาณยีนเฮอร์-2 ฟิช ในตัวอย่างมะเร็งเต้านม และในปี พ.ศ.2554 - ปัจจุบัน ได้พัฒนาวิธีการตรวจด้วยเทคนิคทางอณูพยาธิวิทยาหลากหลาย คือ ตรวจการกลายพันธุ์ของยีนเคแรสในตัวอย่างมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ตรวจการกลายพันธุ์ของยีนอีจีเอฟอาร์ในตัวอย่างมะเร็งปอด
ปัจจุบันงานอณูพยาธิวิทยา กำลังมีแผนที่จะพัฒนาบุคลากร และเทคนิควิธีการตรวจใหม่ ๆ เช่น biomarker ตัวอื่น ๆ ที่ใช้ช่วยในการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นอีก เช่น การกลายพันธุ์ของยีนเอนแรส การกลายพันธุ์ของยีนบีราฟ และการกลายพันธุ์ของยีนซีคิท เป็นต้น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 02-3548208-15 ต่อ 233,229,136 หรือ www.iop.or.th
****************************
ที่มา : http://www.moph.go.th/moph2/index4.php

กรมการแพทย์ ชูสถาบันพยาธิวิทยานำเทคนิคอณูพยาธิวิทยา ตรวจค้นหาโรคมะเร็งระดับโมเลกุล ช่วยให้แพทย์วางแผนการรักษาให้เหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพสูง
นายแพทย์อุดม ภู่วโรดม ผู้อำนวยการสถาบันพยาธิวิทยา เปิดเผยว่า สถาบันพยาธิวิทยา กรมการแพทย์ในฐานะที่มีบทบาทในการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ถ่ายทอด และพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีทางการแพทย์ด้านพยาธิวิทยา ได้นำเทคนิคอณูพยาธิวิทยา ซึ่งเป็นงานที่มุ่งเน้นการตรวจวินิจฉัยโรค จากการตรวจวิเคราะห์ระดับโมเลกุลต่างๆ เช่น สารพันธุกรรม (DNA, RNA และโครโมโซม) ในตัวอย่างชิ้นเนื้อหรือสารคัดหลั่งจากร่างกายของผู้ป่วย เช่น การตรวจมะเร็ง การตรวจการกลายพันธุ์ของยีนที่บ่งชี้การตอบสนองของยาหรืออาการของโรค ทั้งนี้ การตรวจทางอณูพยาธิวิทยาต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง และใช้เครื่องมือที่มีราคาแพง จึงมีห้องปฏิบัติการน้อยราย ที่เปิดให้บริการด้านอณูพยาธิวิทยา แต่ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น ประกอบกับความจำเป็นในการนำข้อมูลระดับโมเลกุลไปใช้วินิจฉัยและพยากรณ์โรค เพื่อทำนายการตอบสนองของยาหรือบ่งบอกความเป็นไปของโรค ดังนั้น งานทางด้านอณูพยาธิวิทยาจึงมีความสำคัญและมีบทบาทมากในการใช้วินิจฉัยและพยากรณ์โรคต่างๆ
ความสำคัญของการตรวจวิเคราะห์ทางด้านอณูพยาธิวิทยา เช่น การตรวจการกลายพันธุ์ของยีนKRAS ซึ่งเป็นยีนชนิดหนึ่งในร่างกายมนุษย์ ที่สามารถใช้เป็นตัวชี้วัดในการคาดการณ์ถึงผลการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ ในระยะลุกลามได้ โดยมีอยู่ 2 ชนิด คือ ชนิดปกติที่ไม่กลายพันธุ์ และชนิดกลายพันธุ์ ซึ่งยีนต่างชนิดกันจะให้ผลการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาที่แตกต่างกัน ดังนั้นการตรวจยีน KRAS ในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ เพื่อบ่งชี้ว่าเป็น ชนิดกลายพันธุ์หรือไม่ก่อนการรักษาจะช่วยให้แพทย์วางแผนการรักษาให้เหมาะสมและให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดกับผู้ป่วยแต่ละราย
การตรวจพิเศษทางด้านอณูพยาธิวิทยา ของสถาบันพยาธิวิทยา มีการนำมาใช้ในการตรวจวินิจฉัยและวิเคราะห์โรคในระดับโมเลกุลครั้งแรกในปี 2552 และเปิดให้บริการแก่หน่วยงาน สถานพยาบาลต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน ทั่วประเทศไทย โดยมีการให้บริการอณูพยาธิวิทยา ตั้งแต่ปี 2552-2556 จำนวน 960 ราย ซึ่งงานอณูพยาธิวิทยา มีความพร้อมทั้งด้านทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถและมากด้วยประสบการณ์ทำงาน มีเครื่องมือที่ทันสมัย และเพียงพอกับการใช้งาน เช่น เครื่อง Pyrosequencing เครื่อง PCR เครื่อง Real-time PCR เครื่อง nanodrop เครื่อง Gel Documentation ตู้ปลอดเชื้อ Biological Safety Cabinets class II เป็นต้น ซึ่งจำนวนตัวอย่างที่หน่วยงาน และสถานพยาบาลต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน ส่งตรวจที่งานอณูพยาธิวิทยามีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในทุก ๆ ปี
งานอณูพยาธิวิทยา ของสถาบันพยาธิวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้พัฒนาเทคนิคการตรวจอย่างต่อเนื่อง โดยในปี พ.ศ.2553 ได้พัฒนาการตรวจหาปริมาณยีนเฮอร์-2 ฟิช ในตัวอย่างมะเร็งเต้านม และในปี พ.ศ.2554 - ปัจจุบัน ได้พัฒนาวิธีการตรวจด้วยเทคนิคทางอณูพยาธิวิทยาหลากหลาย คือ ตรวจการกลายพันธุ์ของยีนเคแรสในตัวอย่างมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ตรวจการกลายพันธุ์ของยีนอีจีเอฟอาร์ในตัวอย่างมะเร็งปอด
ปัจจุบันงานอณูพยาธิวิทยา กำลังมีแผนที่จะพัฒนาบุคลากร และเทคนิควิธีการตรวจใหม่ ๆ เช่น biomarker ตัวอื่น ๆ ที่ใช้ช่วยในการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นอีก เช่น การกลายพันธุ์ของยีนเอนแรส การกลายพันธุ์ของยีนบีราฟ และการกลายพันธุ์ของยีนซีคิท เป็นต้น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 02-3548208-15 ต่อ 233,229,136 หรือ www.iop.or.th
****************************
ที่มา : http://www.moph.go.th/moph2/index4.php