ผู้เขียน หัวข้อ: แพทย์จีนพึ่งเทคโนฯ เครื่องพิมพ์ 3D รักษาชายกะโหลกยุบตัว  (อ่าน 1343 ครั้ง)

ออฟไลน์ tikky

  • Global Moderator
  • medtech ปี เอก
  • *****
  • กระทู้: 1985










นายหู ผู้ประสบอุบัติเหตุตกตึกสามช้นจนกะโหลกแตกเสียหาย เตรียมรับการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะเทียมเพื่อเสริมแต่งศีรษะให้กลับคงรูปเดิม วันที่ 27 ส.ค. 2557 (ภาพ รอยเตอร์ส)
 
เซาท์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์ - หลังจากหมอปักกิ่งใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุด “เครื่องพิมพ์ 3 มิติ” สร้างกระดูกคอเทียมช่วยผู้ป่วยมะเร็งสำเร็จ ล่าสุด เกษตรกรซีอันที่ศีรษะฝั่งซ้ายยุบตัวเพราะตกตึก เตรียมผ่าตัดปลูกถ่ายชิ้นกะโหลกเทียมเป็นรายต่อไป

รายงานข่าว (29 ส.ค.) กล่าวว่า ทีมแพทย์นครซีอัน มณฑลส่านซี จะใช้เครื่องพิมพ์สามมิติผลิตอวัยวะเทียม ก่อนทำการผ่าตัดเสริมเข้าไปบริเวณศีรษะซีกซ้ายของชายแซ่หู วัย 46 ปี ที่ประสบอุบัติเหตุตกอาคารที่พักสามชั้น จนทำให้กะโหลกส่วนดังกล่าวแตกเสียหายไป

หากกระบวนการผ่าตัดและเสริมแต่งทั้งหมดประสบความสำเร็จ แพทย์คาดว่าอวัยวะเทียม “โครงตาข่ายไทเทเนียม” นี้ จะประสานชิ้นกระดูก และฟื้นฟูรูปทรงศีรษะของนายหูให้ดูเป็นธรรมชาติในที่สุด

เทคโนโลยีพรินเตอร์พิมพ์อวัยวะเทียม จะใช้เครื่องซีทีสแกนกระดูก บันทึกข้อมูลนำไปแปลงผลผ่านเครื่องพิมพ์สามมิติ จนได้อวัยวะเทียมที่ใกล้เคียงพิมพ์เดียวกับอวัยวะเดิม และสามารถประกอบเข้าไปในร่างของผู้ป่วยได้สนิทเทียบเท่ากับอวัยวะที่หายไปมากกว่าวิธีเดิมในสมัยก่อน


นายแพทย์ในนครซีอัน มณฑลส่านซี ตรวจดูศีรษะของนายหู เพื่อวางแผนสำหรับการผ่าตัดครั้งสำคัญ (ภาพ รอยเตอร์ส)
 
อนึ่ง ไม่กี่วันก่อนหน้านี้ ทีมแพทย์โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยปักกิ่ง (Peking University) เพิ่งยินดีปรีดากับผลการผ่าตัดนาน 5 ชม. ที่เปลี่ยน “ข้อกระดูกสันหลังเทียม” ช่วงคอ ซึ่งผลิตจากเครื่องพิมพ์สามมิติ ให้กับเด็กชายฉิน หมิงเห่า วัย 12 ปี ที่ล้มป่วยเป็นเนื้องอกมะเร็งกระดูกร้ายแรงชนิดหนึ่งได้สำเร็จลุล่วงเป็นครั้งแรกของโลก

แม้การใช้อวัยวะเทียมจากเทคโนฯ เครื่องพิมพ์สามมิติจะยังไม่แพร่หลายมากนัก แต่ที่ผ่านมาก็พบผู้ป่วยรักษาอาการด้วยวิธีปลูกถ่ายอวัยวะเทียมดังกล่าวหลายราย และตำแหน่งการใช้ก็หลากหลาย เช่น ขากรรไกร กระดูกเชิงกราน หรือสะโพก เป็นต้น

เดอะ การ์เดียน สื่อต่างประเทศ รายงานว่า เครื่องพรินเตอร์สามมิติ ซึ่งปัจจุบันใช้งานในอุตสาหกรรมยานพาหนะ ชิ้นส่วนเครื่องจักร และอื่นๆ กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น ส่วนการผลิตอวัยวะเทียมจากเทคโนฯ ดังกล่าว ก็จะผลักดันนวัตกรรมใหม่นี้ให้เติบโตในตลาดยิ่งขึ้น

นักวิเคราะห์จากไอดี เทคเอ็กซ์ (ID TechEx) บริษัทวิจัยในอังกฤษ มองว่า ธุรกิจเครื่องพิมพ์สามมิติในวงการหมอผ่าตัดและหมอฟัน จะขยายตัวกว่า 365 เปอร์เซ็นต์ ไปมีมูลค่า 867 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2568


"โครงตาข่ายไทเทเนียม" ที่เป็นอวัยวะเทียมผลิตจากเครื่องพิมพ์สามมิติ ทดลองประกบกับส่วนที่ขาดหายไปของศีรษะนายหู (ภาพ รอยเตอร์ส)