ผู้เขียน หัวข้อ: 8 แนวคิดเขย่าโลก (1) - โลกาภิวัฒน์  (อ่าน 1512 ครั้ง)

ออฟไลน์ webmaster

  • Administrator
  • medtech ปี เอก
  • *****
  • กระทู้: 3951
    • อีเมล์
8 แนวคิดเขย่าโลก (1) - โลกาภิวัฒน์
« เมื่อ: ธันวาคม 25, 2014, 08:09:51 am »


8 แนวคิดเขย่าโลก (1) - โลกาภิวัฒน์

ท้ายปีสำนักข่าวซีเอ็นเอ็นก็จะมักมีข่าวพยากรณ์เทคโนโลยีปีนี้ก็มี 10 แนวคิดที่อาจจะเปลี่ยนโลกได้มาให้ท่านผู้อ่านจะได้นำไปต่อยอดความคิดยุคดิจิตอลของไทย

ใน 10 แนวคิดที่อาจเปลี่ยนโลกในทางบวกก็คือนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่อาจจะทำให้เราสุขภาพดีขึ้น ทำให้เราเดินทางบนรถด้วยความปลอดภัยมากขึ้น การป้องกันพายุขนาดใหญ่พัดเข้าทะเลมหาสมุทรเข้าเมืองใหญ่ทำให้คอมพิวเตอร์ช่วยเราคิดได้ หรือการประดิษฐ์ล้อเบี้ยวเพื่อให้ใช้สะดวกมากขึ้น ทางซีเอ็นเอ็นได้บอกว่าความคิดใหม่ ๆ แปลก ๆ เหล่านี้จะเปลี่ยนโลกที่เราอยู่กันได้

แนวคิดสร้างสรรค์ที่เปลี่ยนโลกให้ดีขึ้นได้นั้นน่าจะได้มาจากสองสมมุติฐานคือสมมุติฐานแรกมาจากแนวคิดที่ยิ่งใหญ่เหล่านี้ มาจากการสะสมปัญญาระหว่างมนุษย์ด้วยกันจนทำให้ปัญญาไว้ที่สั่งสมไว้นั้นเกิดเป็นแนวคิดที่ยิ่งใหญ่กว่าความคิดของคนใดคนหนึ่งหรือปัญญาของคนใดคนพึงมี

อีกสมมุติฐานหนึ่งเชื่อว่าความคิดที่ดีที่สุดนั้นเกิดขึ้นเมื่อเรามีทิศทางความคิดที่มุ่งพุ่งตรงสู่ทางเดียวและมีจิตที่สว่างแจ่มใสแล้วเกิดความคิดที่ดีที่สุดในชั่วขณะนั้นและความคิดอันเจิดจรัสนั้นเข้มข้นกว่าทุกกลุ่มความคิด

สรุปแล้วทั้งสองสมมุติฐานก็ทำให้เกิดแนวคิดที่เปลี่ยนโลกได้ แต่อย่างไรก็ตาม ความคิดที่จะคิดและเป็นความคิดปัจจุบันที่เกิดจากองค์ความรู้ของเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ปัจจุบันซึ่งเกิดจากเลือดเนื้อและชีวิตของรา ซึ่งสั่งสมกันมาจนกระทั่งเป็นวัฒนธรรมที่ก้าวหน้าขึ้นของมนุษยชาติ ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดและโดยมากแม้ว่าจะเห็นว่าความคิดนั้นสำคัญเรามักจะไม่เห็นหรือเข้าใจมันในครั้งแรกเห็น แต่หลังจากรับรู้แล้วและมาทำความเข้าใจอีกทีหนึ่งจึงจะรู้ว่ามันคือแนวคิดสำคัญที่เปลี่ยนโลกได้จริง

หลาย ๆ ความคิดเหล่านี้เริ่มมีแนวทางที่เริ่มชัดขึ้น และทำให้ผู้นำความคิดที่เชี่ยวชาญแต่ละสาขานั้นเริ่มเข้ามาถกเถียงให้ข้อคิดเห็นกัน เราในฐานะผู้อ่านก็ลองเอาแนวคิดนี้ลองพุดคุยกันดูในเมืองไทยดูเหมือนอาจจะตลกแต่ก็มีเค้าว่าจะเป็นไปได้

ทั้ง 10 แนวความคิดมีดังนี้คือ หนึ่งการป้องกันเมืองที่อยู่ชายฝั่งทะเล วิธีใหม่คือให้ท่วมเข้าในตัวเมืองได้เลย สองการสร้างกองทุนทางสังคมจากกลุ่มอเมริกันทั้งหลายโดยไม่ผ่านอุตสาหกรรมบันเทิง ซึ่งเป็นบริบทคนอเมริกันแต่ดูแล้วในไทยไม่น่าจะมีผลกระทบอะไรมากนักจึงจะไม่เขียนไว้ปีนี้ สาม การเปลี่ยนโซนชั่วโมงทำงานของสหรัฐอเมริกาจากเดิมที่มี 4 โซน ตั้งแต่ปี ค.ศ.1883 เป็นต้นมา ต่างกันโซนละ 1 ชั่วโมงทั้งประเทศมีเวลาต่างกัน 4 ชั่วโมง แต่จะเปลี่ยนไปเป็น 2 โซนคือตะวันตกและตะวันออกห่างกัน 1 ชั่วโมง อาจจะทำให้คนอเมริกันทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นก็ได้ ประเทศจีนไม่มีโซนเวลา แต่จะอ้างถึงเวลา ณ กรุงปักกิ่งอย่างเป็นทางการ ประเทศใหญ่มากขนาดเดียวกับสหรัฐอเมริกาเลย ผมจะไม่เขียนอีกเช่นกัน ประเทศไทยไม่มีความแตกต่างโซนเวลา จะเลือกใช้เวลาของโซนประเทศไหนก็ไปคิดเอาเอง สี่ เครื่องบินเล็กไม่มีคนขับที่ชื่อว่าโดรน (Drone) มีความคิดที่จะมาใช้เชิงบวกเพื่อการเกษตรและการอาหารแล้วไม่ใช่มีเฉพาะเอาไปติดอาวุธฆ่าคนในตะวันออกกลาง

ห้า แท็บเล็ต ทีวี กระทั่งมือถืออัจฉริยะจะม้วนพับได้ เก็บรักษาติดตัวได้ง่ายและสะดวกกว่า หก การควบคุมทางจิตและสมองผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เริ่มเป็นจริงแต่คิดในเชิงบวกจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัย ทำให้คนอาจจะคิดต่อกันทางโทรจิตได้ ไม่ใช้การควบคุมมนุษย์ให้ไปฆ่าคน เจ็ด รถที่สามารถขับและนำทางเองได้โดยไม่ต้องอาศัยมนุษย์เป็นคนขับ ต่อไปอาจจะมีรถเมล์ไร้คนขับอยู่บนท้องถนนสาธารณะ

แปด เทคโนโลยีอัจฉริยะที่แขวนตามข้อมือได้เหมือนเจมส์บอนด์ อาจจะเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่สามารถฝังชิป (Chip) หรือชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์เข้าสู่ใต้ผิวหนังคน เก้า เทคโนโลยีที่คิดเองได้ หรือคอมพิวเตอร์ท่ีคิดเองได้เหมือนสมองมนุษย์ขณะนี้งานวิจัยที่มหาวิยาลัยคาร์เนกี เมลลอนสหรัฐอเมริกาเริ่มหาวิธีประดิษฐ์ได้แล้ว สิบ ลูกล้อวงกลมที่ใช้กับรถยนต์หรือเกวียนลากมานับพันปี มีคนคิดทำให้ได้ลูกล้อเบี้ยวแต่เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์มาก

ผมได้เขียนรายละเอียดของแต่ละแนวคิดในบทความต่อไปจนกระทั่งเลยปีใหม่นะครับ ปีใหม่จะได้คิดอะไรใหม่ ๆ เป็นบวกและเป็นประโยชน์ต่อสังคมมนุษย์โลกและประเทศไทย .

รศ.ดร.บุญมาก ศิริเนาวกุล
อธิการบดีมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
boonmark@stammford.edu





ที่มา
http://www.dailynews.co.th/