ผู้เขียน หัวข้อ: เปลี่ยนสมาร์ทโฟนเป็นกล้องจุลทรรศน์ - ฉลาดคิด  (อ่าน 1547 ครั้ง)

ออฟไลน์ webmaster

  • Administrator
  • medtech ปี เอก
  • *****
  • กระทู้: 3951
    • อีเมล์


เปลี่ยนสมาร์ทโฟนเป็นกล้องจุลทรรศน์ - ฉลาดคิด

ไม่ได้เป็นแค่แนวคิด! แต่เป็นงานวิจัยที่พัฒนาออกมาให้จับต้องกันได้แล้ว!!

กับการใช้สมาร์ทโฟนให้เกิดประโยชน์ โดยทำให้กลายเป็น “กล้องจุลทรรศน์” เครื่องมือวิจัยแบบเคลื่อนที่ ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้

และความสำเร็จของงานวิจัยแนวคิดนี้ ในเมืองไทยไม่ได้มีแค่ผลงานเดียว แต่มีมาให้ชื่นชมพร้อม ๆ กันถึง 2 ผลงาน

โดยชิ้นแรก เรียกว่ากล้องจุลทรรศน์สมาร์ทโฟน เป็นผลงานของ “รศ.ดร.สนอง เอกสิทธิ์” และทีมวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รศ.ดร.สนอง บอกว่า เป็นการพัฒนามือถือสมาร์ทโฟนที่มีกล้อง 5 ล้านพิกเซลขึ้นไป ให้มีคุณสมบัติเหมือนกล้องจุลทรรศน์ในห้องปฏิบัติการวิจัย เพื่อประโยชน์ในการใช้งานของนิสิต นักศึกษา เจ้าหน้าที่ และทหารตำรวจ โดยเฉพาะในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบด้านนิติวิทยาศาสตร์ สามารถตรวจสอบได้อย่างรวดเร็วทั้งยาเสพติด ร่องรอยกระสุนปืน รวมถึงลายนิ้วมือแฝงอาชญากรต่าง ๆ ปัจจุบันต้นแบบมีการนำไปทดสอบใช้งานร่วมกับกองพิสูจน์หลักฐาน ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

จุดเด่นของผลงานนี้นักวิจัยบอกว่า นอกจากจะทำเป็นอุปกรณ์เสริมมือถือ ที่เพิ่มกำลังขยายได้ 10-100 เท่า ในราคาไม่ถึง 1 พันบาทแล้ว ยังสามารถถ่ายรูปของพื้นผิวกระสุนปืนได้ เทียบเท่ากับการใช้เครื่องเลเซอร์เทอร์โมกราฟฟี่ความละเอียดสูงมูลค่ากว่า 60 ล้านบาทในห้องปฏิบัติการ และที่ดีกว่านั้นคือสามารถถ่ายเป็นรูปพาโนราม่าได้อีกด้วย ทำให้สะดวกในการตรวจสอบ

สำหรับอีกหนึ่งผลงานเป็นการพัฒนาของ ห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ที่เพิ่งเปิดตัวหมาด ๆ เรียกว่า “เลนส์ทวิทรรศน์” หรือกล้องจุลทรรศน์แบบพกพาและเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ถ่ายภาพอย่างสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต

ผลงานนี้จะมีประโยชน์ในการเรียนการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม ที่ต้องตรวจดูชิ้นงานขนาดเล็ก ๆ

จากแนวคิดของทั้งสองผลงาน สามารถที่จะประยุกต์ใช้งานได้อย่างหลากหลายทั้งด้านการเรียนการสอน สร้างห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่ ตรวจยืนยันเอกลักษณ์ของอัญมณีและเครื่องประดับ ตรวจแบงก์ปลอม รวมถึงใช้ส่องพระเครื่องได้อีกด้วย

กล้องจุลทรรศน์สมาร์ทโฟน ของจุฬาฯ นักวิจัยบอกว่าจะนำไปโชว์ในงานวันนักประดิษฐ์ 2 ก.พ.ปีหน้า

ส่วนเลนส์ทวิทรรศน์ ของเนคเทค ปัจจุบันได้เปิดเป็นโครงการนำร่อง ระดมทุนวิจัยผ่านอินเทอร์เน็ต เพื่อให้คนทั่วโลกได้เข้ามาสนับสนุนและรับชุดเลนส์เป็นของตอบแทน โดยเริ่มระดมทุน ตั้งแต่ 11 ธันวาคมที่ผ่านมาถึง 10 มกราคม 2558

สนใจ เลนส์ทวิทรรศน์ ...ไม่อยากให้งานวิจัยอยู่บนหิ้ง สนับสนุนได้ที่ https://www.indiegogo.com/projects/dual-microscope- lens-for-mobile-devices-twi-vis

นาตยา คชินทร
nattayap.k@gmail.com






http://www.dailynews.co.th/