ผู้เขียน หัวข้อ: การประเมินคุณภาพการตรวจวิเคราะห์/การทดสอบความชำนาญ  (อ่าน 2981 ครั้ง)

ออฟไลน์ Por-MedTech

  • Global Moderator
  • medtech ปี เอก
  • *****
  • กระทู้: 1192
    • อีเมล์
การประเมินคุณภาพการตรวจวิเคราะห์/การทดสอบความชำนาญ


           การประเมินคุณภาพการตรวจวิเคราะห์ หรือการทดสอบความชำนาญการตรวจวิเคราะห์ (Proficiency testing, PT) คือการประเมินความสามารถของห้องฏิบัติการวิเคราะห์ โดยการเปรียบเทียบผลระหว่างห้องปฏิบัติการ ซึ่งผู้ดำเนินแผน (PT provider) จะจัดส่งตัวอย่างที่แบ่งมาจากตัวอย่างเดียวกัน ไปยังห้องปฏิบัติการสมาชิกเดียวกัน เพื่อให้สมาชิกทำการวิเคราะห์ และส่งผลภายในเวลาที่กำหนด การเข้าร่วมในแผนทดสอบความชำนาญ เป็นกระบวนการควบคุมคุณภาพการตรวจวิเคราะห์ภายนอก (external quality control) จึงเป็นปัจจัยชี้บ่งถึงความสามารถหรือปัญหาในการวิเคราะห์ได้ระดับหนึ่ง ดังที่กำหนดไว้ในมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ว่า นอกเหนือจากการเลือกใช้วิธีวิเคราะห์ที่มีการยืนยันความเหมาะสม (validated method) การเลือกใช้เครื่องมือวัดที่ผ่านการสอบเทียบ (calibrated equipment) และการควบคุมคุณภาพภายใน (internal quality control) แล้ว ยังต้องมีการควบคุมคุณภาพจากภายนอก (external quality control) โดยเข้าร่วมทดสอบความชำนาญ นอกจากนี้การเข้าร่วมทดสอบความชำนาญของห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ยังเป็นข้อกำหนดของหน่วยงานที่ให้การรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการอีกด้วย

การประเมินคุณภาพการตรวจวิเคราะห์ด้านพยาธิวิทยาคลินิก

- การประเมินคุณภาพการตรวจแอนติเอชไอวี
         
- การประเมินคุณภาพการตรวจวิเคราะห์ สาขาธนาคารเลือด
     
- การประเมินคุณภาพการตรวจวิเคราะห์ สาขาภูมิคุ้มกันวิทยาคลินิก
   
- การประเมินคุณภาพการตรวจวิเคราะห์ สาขาจุลทรรศน์ศาสตร์คลินิค
         
- การประเมินคุณภาพการตรวจวิเคราะห์ สาขาโลหิตวิทยา
           
- การประเมินคุณภาพการตรวจวิเคราะห์ สาขาจุลชีววิทยาคลินิก
     
- การประเมินคุณภาพการตรวจวิเคราะห์ สาขาเคมีคลินิก
       



*******************************
ที่มา : http://dmsc2.dmsc.moph.go.th/webroot/qa/webblqs/default.asp?iID=JFLFJ