ผู้เขียน หัวข้อ: กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ก้าวทันนวัตกรรมสเต็มเซลล์  (อ่าน 386 ครั้ง)

ออฟไลน์ Por-MedTech

  • Global Moderator
  • medtech ปี เอก
  • *****
  • กระทู้: 1192
    • อีเมล์
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ก้าวทันนวัตกรรมสเต็มเซลล์





กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์ ให้มีความรู้ก้าวทันเทคโนโลยีการวิจัยด้านเซลล์ต้นกำเนิดและวิศกรรมเนื้อเยื่อ  เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาด้านการรักษาและดูแลผู้ป่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

     น.พ.อภิชัย  มงคล  อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีการโฆษณาสเต็มเซลล์และนำ สเต็มเซลล์มาใช้กับประชาชน  โดยไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับจำนวนมาก และประชาชนเข้าใช้บริการดังกล่าวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ โดยโรคที่ทางการแพทย์ยอมรับว่าสามารถใช้เซลล์ต้นกำเนิดรักษา ได้มีเพียงโรคที่เกิดจากความผิดปกติในระบบเลือดเท่านั้น เช่น โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือลูคีเมีย โรคโลหิตจางธาลัส  ซีเมีย ส่วนโรคอื่นๆ ที่มีการอ้างว่ารักษาด้วยเซลล์ต้นกำเนิดได้ยังอยู่ในกระบวนการศึกษาวิจัยทางคลินิก อาจจะให้ผลดีสำหรับการรักษาในอนาคตแต่ยังไม่ถือเป็นการรักษามาตรฐานในปัจจุบัน ประกอบกับความรู้และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านเซลล์ต้นกำเนิดและวิศวกรรมเนื้อเยื่อ ได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว นักวิจัยจึงมีความพยายามที่จะพัฒนาวิธีการใหม่ๆ เพื่อใช้ในการรักษาพยาบาลผู้ป่วย การประยุกต์องค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านเซลล์และเนื้อเยื่อเพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ ต้องอาศัยการพัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล และพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความชำนาญ

     กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยสถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จึงได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ“นวัตกรรมด้านเซลล์และเนื้อเยื่อทางการแพทย์ ครั้งที่ 4” ขึ้น ระหว่างวันที่ 12-13 กุมภาพันธ์ 2558 ณ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้จากการวิจัยสู่สาธารณะ และพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ ได้แก่ แพทย์ เภสัชกร พยาบาล นักเทคนิคการแพทย์ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ และ  ผู้ที่สนใจ ให้มีความรู้และก้าวทันเทคโนโลยี รวมถึงกฎหมายและแนวทางในการกำกับดูแลการใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม อันจะนำไปสู่การพัฒนาด้านการรักษาและดูแลผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากคณาจารย์และผู้ทรงคุณวุฒิที่มีชื่อเสียงและมีประสบการณ์ทางด้านนี้โดยตรงจากมหาวิทยาลัยต่างๆ สภากาชาดไทย กรมการแพทย์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
     น.พ.อภิชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมากรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้มีการพัฒนานวัตกรรมเซลล์ต้นกำเนิดเพื่อใช้ในการศึกษาวิจัยทางคลินิกได้ 2 ชนิด คือ DMSc Stem Plus เป็นเซลล์ต้นกำเนิดชนิด Mononuclear Cell จาก ไขกระดูก และ DMSc Stem Pro เป็นเซลล์ต้นกำเนิดชนิด Mesenchymal Stem Cell (MSC) ที่เพาะเลี้ยงจากไขกระดูก  เซลล์ต้นกำเนิดทั้ง 2 ชนิดนี้ มีศักยภาพสูงในการพัฒนาวิธีการรักษาโรคและฟื้นฟูสภาวะเสื่อมได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังได้ร่วมมือกับภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ในการศึกษาความเป็นไปได้และความปลอดภัยของเซลล์ต้นกำเนิดจากไขกระดูก เพื่อใช้ทำการรักษาโรคจอตามีสารสีที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม (Retinitis pigmentosa : RP) ขณะนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการวิจัยทางคลินิก หากผลการศึกษาวิจัยทางคลินิกได้ผลดี คาดว่าภายใน 3-5 ปี ก็จะสามารถพัฒนาสู่การรักษามาตรฐานต่อไป




*******************************************
ที่มา : http://www.dmsc.moph.go.th/dmsc/home.php