ผู้เขียน หัวข้อ: ตะวันลับขอบ ดาวอังคาร เป็นสีฟ้า  (อ่าน 2888 ครั้ง)

ออฟไลน์ webmaster

  • Administrator
  • medtech ปี เอก
  • *****
  • กระทู้: 3951
    • อีเมล์
ตะวันลับขอบ ดาวอังคาร เป็นสีฟ้า
« เมื่อ: พฤษภาคม 14, 2015, 08:00:34 am »


ตะวันลับขอบดาวอังคารสัญญาณสิ้นสุดวันดาวอังคาร ("AFP PHOTO / HANDOUT / NASA/JPL-Caltech/MSSS/Teaxs A&M ")

        ยามตะวันลับฟ้าขอบโลกเรืองเป็นสีส้มแดง แต่สำหรับดาวเคราะห์เพื่อนบ้านอย่าง “ดาวอังคาร” กลับมีแสงสนธยาเป็นสีฟ้า
       
       องค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) เพิ่งเผยภาพจากยานโรเวอร์คิวริออซิตี (Curiosity) ซึ่งบันทึกภาพขณะดวงอาทิตย์กำลังลับขอบดาวอังคาร ขณะใกล้สิ้นสุดภารกิจในวันดาวอังคารหรือซอล (sol) ที่ 956 ซึ่งตรงกับวันที่ 15 เม.ย.2015 ตามเวลาบนโลก
       
       ภาพดังกล่าวบันทึกจากหลุมอุกกาบาตเกล (Gale Crater) ซึ่งเอเอฟพีที่ได้รับภาพเผยแพร่ดังกล่าวจากนาซา ระบุว่าเป็นภาพดวงอาทิตย์ตกดินภาพแรกที่คิวริออซิตีบันทึกเป็นภาพสี ด้วยกล้องมาสต์ (Mast Camera) หรือมาสต์แคม (Mastcam) ที่อยู่ทางตาซ้ายของยาน โดยสีของภาพได้รับการปรับเทียบและปรับค่าสมดุลแสงสีขาวหรือไวท์บาลานซ์ (white-balanced) เพื่อสัญญาณลวงของกล้อง 
       
       ทั้งนี้ ฝุ่นบนดาวอังคารนั้นเป็นอนุภาคละเอียดที่ยอมให้แสงสีฟ้าลอดผ่านชั้นบรรยากาศได้มากกว่าแสงสีที่มีความยาวคลื่นยาว ทำให้แสงสีฟ้าในแสงรวมที่มาจากดวงอาทิตย์นั้นอยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์มากกว่า เมื่อเทียบกับแสงสีเหลืองและแดงที่กระเจิงไปได้กว้างกว่า และปรากฏการณ์นี้เห็นได้ชัดเจนที่สุดในช่วงดวงอาทิตย์ตกดิน เมื่อแสงจากดวงอาทิตย์ต้องเดินทางผ่านชั้นบรรยากาศของดาวอังคารไกลกว่าใรช่วงกลางวัน









ที่มา http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9580000054575