ผู้เขียน หัวข้อ: พนักงาน กับความเครียด  (อ่าน 830 ครั้ง)

ออฟไลน์ bigpoint

  • medtech ปี เอก
  • ******
  • กระทู้: 854
พนักงาน กับความเครียด
« เมื่อ: สิงหาคม 01, 2011, 06:22:47 pm »

พนักงาน กับความเครียด

บีบีซีนิวส์ – การสำรวจความคิดเห็นพนักงานกว่า 2.000 คน พบว่า คนทำงานมากกว่าครึ่งเห้นว่าเจ้านายควรที่จะพยายามปรับปรุงสุขภาพของลูกจ้าง เพราะจะช่วยลดระดับความเครียด และทำให้ความเป็นอยู่ดีขึ้น นอกจากนั้นยังจะช่วยเพิ่มประสิทธิผลของงานและลดจำนวนการลาป่วยอีกด้วย

บริษัทประกันภัย สแตนดาร์ด ไลฟ์ เฮลท์แคร์(Standard Life Healthcare) ซึ่งว่าจ้างให้บริษัทเทย์เลย์ เนลซัน โซฟเรส (Taylor Nelson Sofres) ออกแบบสำรวจความเห็นพนักงานชาวอังกฤษ จำนวน 2,020 คน เกี่ยวกับสุขภาพจิตในการทำงาน พบว่า มากกว่าครึ่งของผู้ที่ตอบแบบสำรวจ ต้องการให้นายจ้างมีส่วนช่วยในการปรับปรุงสุขภาพจิตของพนักงาน หลังจากที่การสำรวจก่อนหน้านี้ไม่กี่สัปดาห์ พบว่า ความเครียด ทำให้อุตสาหกรรมของอังกฤษสูญเสียค่าใช้จ่ายไปราว 1.24 พันล้านปอนด์ต่อปี

ทั้งนี้ จากโพลสำรวจความเห็นของเจ้านายระดับผู้จัดการจำนวน 700 คน ทั้งหมดชี้ว่าความเครียดทำให้ประสิทธิภาพการทำงานต่ำลง และ 2 ใน 3 ตำหนิว่าเป็นเพราะอัตราการเลิกจ้างพนักงาน

นอกจากนี้ยังมี การสำรวจของมูลนิธิการทำงานในเดือนกันยายน ซึ่งพบว่าเจ้านายจำนวนมากรู้สึกว่าไม่สามารถจัดการกับปัญหาสุขภาพทางจิตได้ ทั้งนี้ลูกจ้างเองก็รู้สึกเช่นเดียวกัน โดยมีเพียง 2 % จากผู้ตอบคำถาม 1,596 คนเท่านั้นที่คิดว่าเจ้านายสามารถช่วยพวกเขาได้เมื่อเกิดปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิตขึ้น

ดังนั้น ผู้บริหารฝ่ายสุขภาพและความปลอดภัยของบริษัทต้องแน่ใจว่าสุขภาพของลูกจ้างจะไม่ถูกทำลายด้วยความเครียดด้วยการหาวิธีมาป้องกัน

สตีเฟน บีแวน ผู้อำนวยการการฝ่ายวิจัยของมูลนิธิการทำงานกล่าวสนับสนุนว่า “นายจ้างมีหน้าที่ตามกฎหมายที่เอาใจใส่ต่อสุขภาพทางจิตใจของพนักงาน วิเคราะห์ความเสียงที่จะเกิดขึ้นและหาทางป้องกัน” "และการสำรวจนี้จะกระตุ้นให้นายจ้างเห็นว่าความเครียดเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องแก้ไข"

ไมค์ ฮอลล์ ผู้บริหารไลฟ์ สแตนดารด์ เฮลท์แคร์ สรุปว่า การสำรวจนี้แสดงให้เห็นว่าทัศนคติที่ว่าบริษัทต่าง ๆ ต้องดูแลความเป็นอยู่ของพนักงานนั้นกำลังจะเปลี่ยนไป พนักงานไม่ได้คาดหวังใช่เพียงแต่ว่าจะได้รับการดูแลเมื่อเจ็บป่วยเท่านั้น แต่ขณะนี้พวกเขายังต้องการให้นายจ้างเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นจากงาน อย่างเช่น ความเครียดอีกด้วย

ทั้งนี้ สิ่งที่พนักงานคาดหวังจะสำเร็จได้ก็ด้วยความร่วมมือจากนายจ้างที่ต้องจัดการกับความเครียดของพนักงาน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ให้แก่บริษัทเอง เพราะหากไม่มีความเครียด ประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานก็จะเพิ่มขึ้น และยังจะลดการขาดงานที่เกิดจากความเจ็บป่วยได้ด้วย





5 วิธีคิดอย่างคนเก่ง

คนเก่งไม่ใช่มาจาก พันธุกรรม หรอก แต่อยู่ที่การฝึกขัดเกลาสมองต่างหาก วันนี้ เกร็ดความรู้ มี 5 วิธีคิดอย่างคนเก่งมาฝากกัน...

1. มองโลกในแง่ดี และทำทุกสิ่งอย่างเต็มกำลังด้วยรอยยิ้มและความเบิกบาน ทำตัวให้สดชื่นมีชีวิตชีวาและกระตือรือร้นอยู่เสมอ พร้อมที่จะเผชิญกับทุกสถานการณ์ จะช่วยให้คุณสามารถจัดการกับทุกเรื่องที่ผ่านเข้ามา ได้อย่างอยู่มือ

2. มีศรัทธาในตัวเอง จงเชื่อมั่นในความเก่งของคุณ อยากให้ใคร ๆ เขาชื่นชอบและทึ่งในตัวคุณ คุณก็ต้องมั่นใจตัวเองก่อน

3. ขอท้าคว้าฝัน ไม่มีอะไรที่จะทรงพลังมากเท่ากับความตั้งใจจริงและทุ่มสุดตัว จะเป็นแรง ผลักดันที่จะทำให้คุณสานฝันสู่ความจริงได้

4. ค้นหาบุคคลต้นแบบ ใครก็ได้ที่คุณชื่นชมเพื่อเป็นมาตรฐานที่ดีในการดำเนินรอยตาม ศึกษาแนวคิด วิธีการทำงาน จุดเด่นในตัวเขา แล้วอาจนำมาปรับใช้ให้เข้ากับชีวิตได้บ้าง

5. เริ่มต้นงานใหม่ทุกวันด้วยรอยยิ้มสดใส คนที่มีรอยยิ้มระบายไว้บนใบหน้า เสมือนประตูที่เปิดกว้าง ให้ใคร ๆ อยากเข้ามาคบหาด้วย การเจรจา ติดต่องานก็มักจะลงเอยด้วยความสำเร็จ

นอกจากนี้ รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ ยังสร้างความเบิกบานและคลายทุกข์ แถมยังเป็นยาอายุวัฒนะชั้นดีอีกด้วย



โรคไมเกรน

โรคไมเกรน
พญ.รัชนี ชาญสุไชย
อายุรแพทย์ประสาทวิทยา แพทย์ที่ปรึกษา รพ.วิภาวดี
ไมเกรน (migraine) เป็นโรคปวดศีรษะชนิดหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะอาการที่สำคัญ คือ ปวดตุ้บๆ ที่บริเวณขมับข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ อาการปวดจะเป็นพักๆ เป็นๆ หายๆ ความรุนแรงของอาการปวด มีตั้งแต่ปวดปานกลางจนถึงรุนแรงมาก ระยะเวลาในการปวดแต่ละครั้งส่วนใหญ่ประมาณ 4-7 ชม. อาการปวดจะกำเริบหรือรุนแรงมากขึ้นเมื่อมี ความเครียด อากาศร้อน แสงจ้า หรืออดนอน ขณะปวดไมเกรนอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร และอาจไวต่อแสงหรือเสียง ดังนั้นผู้ที่เป็นไมเกรนส่วนใหญ่มักอยากอยู่ในห้องมืดและเงียบ เพราะจะทำให้อาการปวดดีขึ้น

สาเหตุของไมเกรน
ไมเกรนเป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของเส้นเลือด และเส้นประสาทรอบๆสมอง ระบบประสาทผู้ป่วยที่เป็นโรคไมเกรนจะไวต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และสิ่งแวดล้อมมากกว่าผู้ที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรคนี้ ระบบประสาทจะมีการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จนทำให้เกิดอาการอักเสบดังกล่าวเกิดขึ้น และอาการปวดอย่างรุนแรงตามมา ปัจจัยกระตุ้นมีดังนี้
- อาหาร คือ ผู้ที่รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อาหารที่ใส่ผงชูรสหรือสารถนอมอาหาร สิ่งเหล่านี้อาจกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะได้
- การนอนหลับ การนอนหลับมากหรือน้อยเกินไป สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการปวดได้
- ฮอร์โมน ผู้หญิงจำนวนมากที่เป็นไมเกรน บางคนจะมีอาการปวดไมเกรนในช่วงที่มีประจำเดือนหรือตั้งครรภ์ในช่วง 3 เดือนแรก บางคนที่ใช้ยาฮอร์โมนคุมกำเนิดบางชนิดอาจกระตุ้นให้มีอาการปวดไมเกรนที่รุนแรงหรือระยะเวลาในการปวดนานมากขึ้นได้
- สิ่งแวดล้อม เช่น อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็น “อากาศร้อน” หรือ “เย็นมาก ” อยู่ท่ามกลางแสงแดดเป็นเวลานาน หรือได้กลิ่นบางอย่างก็ทำให้ปวดหัว เช่น กลิ่นน้ำหอม ควันบุหรี่ หรือการอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ
- ความเครียด ผู้ที่มีความเครียดจะมีอาการปวดไมเกรนได้บ่อยและรุนแรงกว่าผู้ที่ไม่เครียด

การวินิจฉัย
การวินิจฉัยไมเกรนนั้น จำเป็นต้องอาศัยประวัติและการตรวจร่างกายเป็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะอาการปวด ตำแหน่ง ความรุนแรง ความถี่ ระยะเวลาในการปวด และอาการอื่นที่ร่วมด้วย ประวัติโรคประจำตัวและประวัติการใช้ยา การตรวจทางห้องปฏิบัติการ หรือการตรวจเอกซเรย์เพื่อวินิจฉัยแยกจากโรคอื่น เช่น อาการปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อตึงตัว หรือจากภาวะเครียด การติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมอง โรคของต่อมใต้สมองหรือมีเนื้องอก เป็นต้น

การรักษา
ไมเกรนไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ก็มีวิธีการช่วยให้ความถี่และความรุนแรง ของไมเกรนลดน้อยลง โดยใช้ยาเพื่อป้องกันรักษา และหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ ดูแลสุขภาพและพบแพทย์สม่ำเสมอ
ยาแก้ปวดไมเกรนและยาป้องกันไมเกรน
ยาแก้ปวดไมเกรน คือ ยาที่ใช้เมื่อมีอาการปวด ส่วนยาป้องกันไมเกรน ใช้เพื่อทำให้ความถี่และความรุนแรงของการปวดลดลง และจะใช้ในกรณีที่มีอาการปวดบ่อยกว่า 2 ครั้งต่อเดือน ยาทั้ง 2 กลุ่มนี้มีมากมาย หลายชนิด การเลือกใช้ยาชนิดใด ควรได้รับคำแนะนำหรือควรปรึกษาแพทย์
ที่มาhttp://atcloud.com