ผู้เขียน หัวข้อ: โรคกระดูกคอเสื่อม Cervical Spondylosis  (อ่าน 651 ครั้ง)

ออฟไลน์ bigpoint

  • medtech ปี เอก
  • ******
  • กระทู้: 854
โรคกระดูกคอเสื่อม Cervical Spondylosis
« เมื่อ: กันยายน 06, 2011, 04:31:21 pm »

คอของคนเราประกอบด้วย กระดูกคอต่อเรียงกัน 7 ชิ้น แต่ละชิ้นมีหมอนรอง กระดูกรองรับสลับกันอยู่
กระดูกคอ และหมอนรองกระดูก มีหน้าที่สำคัญ คือ ช่วยในการเคลื่อนไหวคอในทิศทางต่างๆ เช่นก้ม เงย
หันซ้าย-ขวา หรือเอียงคอไปมา เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งมีการใช้งานอย่างหนักของกระดูก คอ น้ำใน
หมอนรอง กระดูก จะค่อยๆ แห้งลงทำให้หมอนรองกระดูกเ***่ยวแฟบ รองรับ การกระแทก ได้น้อยลง
ร่างกาย จึงค่อยๆ สร้างหินปูนขึ้นมาบริเวณ ใกล้ๆ กับหมอนรองกระดูก เพื่อช่วยในการกระจายน้ำหนักใน
บริเวณ กระดูกคอ หินปูนที่เกิดขึ้นนี้ พบได้ใน ผู้สูงอายุเกือบทุกคนอันจะถือเป็นเรื่องปกติ ของชีวิต ในคนที่
เป็นมาก หินปูนจะไปกด เบียดระคายเคืองเส้นประสาทและ ไขสันหลัง บริเวณคอซึ่งจะทำให้เกิด อาการ
ผิดปกติขึ้น


อาการและการตรวจพบ
- อาการแรกเริ่มของกระดูกคอเสื่อมคือ อาการปวดซึ่งเกิดจากกระดูก ที่เสื่อม ไปกดเบียดระคายเคืองต่อ
   เส้นประสาท เส้นนั้น อาการปวดมักจะ ปวดร้าว จากบริเวณคอลงไปที่แขน มือ อาจตรวจพบอาการชาและ
   อ่อนแรงลง ของกล้ามเนื้อในบริเวณแขนด้วยอาการ ปวดที่เกิดขึ้น มักจะเป็นมากเวลามีการ เคลื่อนไหว
   หันคอ เอี้ยวคอ

- ในรายที่เป็นมากขึ้นอาจพบการกดเบียดไขสันหลังร่วมด้วย อาการที่ เกิดขึ้น ได้แก่ อาการเกร็งของกล้ามเนื้อ
   ขา การเดินผิดปกติไป การควบคุม อุจจาระ ปัสสาวะผิดปกติไป ท้องผูกมากขึ้น

- ในผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มานาน จะมีการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อแขนได้มาก การเดินค่อยๆ แย่ลงจนกระทั่งเดินไม่ได้
   ซึ่งจะกลายเป็นคนพิการไปในที่สุด


การตรวจวินิจฉัย
แพทย์สามารถวินิจฉัยได้จากอาการและการตรวจพบข้างต้น การตรวจ เอกซเรย์กระดูกคอท่าต่างๆ จะช่วยใน
การวินิจฉัยแยกโรคได้บ้าง เช่น โรคเนื้อ งอกบริเวณกระดูก หรือเส้นประสาทบริเวณคอ โรคกระดูกคอเคลื่อน
เป็นต้น  การตรวจด้วยวิธีพิเศษ ซึ่งทำให้ผู้ป่วยที่รักษาด้วยยาแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น จะทำให้วินิจฉัยโรค
กระดูกคอเสื่อมได้อย่างแม่นยำ และยังช่วยบอกถึง ความรุนแรงของโรค จำนวนเส้นประสาทที่ถูกกดเบียด
ความเสียหาย ของไขสัน หลัง เป็นต้น การตรวจพิเศษ ได้แก่ การฉีดสีเข้าโพรงไขสันหลัง แล้วเอกซเรย์
การตรวจคอมพิวเตอร์แม่เหล็ก เป็นต้น ล้วนแต่มีข้อดีและข้อเสีย ซึ่งเป็น ดุลย์พินิจของแพทย์ผู้ตรวจรักษา
เป็นรายๆ ไป


การรักษา
ในเบื้องต้นจะเป็นการรักษาโดยการใช้ยา เช่น ยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ ร่วมกับคำแนะนำในการปฏิบัติตัว
เช่น ไม่นอนหมอนสูงเกินไป และหลีก เลี่ยงงานหนัก การแบก-หาม การทำกายภาพบำบัด อาจช่วยบรรเทา
อาการ ได้บ้างในผู้ป่วยที่อาการยังไม่มาก ได้แก่ การดึงคอ ประคบร้อน การทำ Ultrasound การบีบนวด
ในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาเต็มที่แล้ว แต่ยังคงมี อาการปวด ชา หรืออ่อนแรง ก็จะได้รับการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด
ต่อไป การผ่าตัด เพื่อรักษากระดูกคอเสื่อม มีเป้าหมายเพื่อแก้ไขการกดเบียดเส้นประสาท และ ไขสันหลัง
อาจผ่าตัดเข้าทางด้านหน้า หรือด้านหลังของลำคอขึ้นกับความ รุนแรงของโรคเป็นรายๆ ไป


อาการปวดคอร้าวไปที่สะบักและไหล่ บางทีก็มีอาการปวดร้าวไปที่แขนเป็นโรคที่พบบ่อยมากในวัยกลางคน และในวัยสูงอายุซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดมาจากการเสื่อมของกระดูกคอ

     โครงสร้างของกระดูกคอและหน้าที่
     กระดูกสันหลังส่วนคอนั้นประกอบด้วยกระดูกอ่อนคั้นอยู่ หมอนรองกระดูกเป็นกระดูกอ่อนชนิดพิเศษจะมีความยืดหยุ่นสามารถทำให้คอมีความ ยืดหดหรือเคลื่อนไหวไปในทิศทางต่างๆกัน ดังนั้นกระดูกคอมีหน้าที่สำคัญที่ทำให้ศีรษะสามารถเคลื่อนไหวไปในทิศทาง ต่างๆกันตามที่เราต้องการ เช่น ก้มหรือเงยศีรษะ หันหน้าไปทางซ้ายหรือขวา หรือเอียงศีรษะไปทางซ้ายหรือขวา นอกจากนี้กระดูกคอยังทำหน้าที่แบกรับน้ำหนักศีรษะไว้ตลอดเวลา ซึ่งน้ำหนักของศีรษะและคอรวมกันประมาณ 10% ของน้ำหนักตัว ภายในกระดูกคอจะมีประสาทไขสันหลังอยู่ซึ่งเป็นเส้นประสาทที่ไปทำให้เกิดการ เคลื่อนไหวและรับความรู้สึกของแขนและขา

     อาการของกระดูกคอเสื่อม
      เมื่ออายุย่างเข้าวัยกลางคนคือ 30 ปีขึ้นไปหมอนรองกระดูกซึ่งเป็นกระดูกอ่อนจะเริ่มมีอาการเปลี่ยนแปลงไปในทาง เสื่อมตัวคือองค์ประกอบที่เป็นน้ำที่ทำให้เกิดการยืดหยุ่นในตัวของหมอน รองกระดูกคอจะลดลงไปทำให้คุณสมบัติในการยืดหยุ่นของหมอนรองกระดูกเสียไป ทำให้กระดูกคอปล้องที่หมอนรองกระดูกมีการเคลื่อนไหวไปในลักษณะที่ไม่ราบ เรียบเป็นปกติ ถ้าเราไม่ระมัดระวังปล่อยให้กระดูกคอเคลื่อนไหวมากเกินขอบเขตก็จะทำให้เกิด การชำรุดของหมอนรองกระดูกคอเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งมีผลทำให้ข้อต่อของกระดูกคอปล้องนั้นๆเสียไป

     อาการเริ่มต้นของหมอนรองกระดูกคอเสื่อมคือจะมีอาการปวดคอและ คอแข็งที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “ตกหมอน” บางทีก็มีอาการปวดตื้อๆ ลึกๆ ที่บริเวณสะบัก ที่ชาวบ้านเรียกว่า “สะบักจม” อาการทั้งสองอย่างนี้เป็นสัญญาณเตือนว่าหมอนรองกระดูกคอเริ่มมีอาการเสื่อม ตัวแล้ว ถ้าการเสื่อมตัวของหมอนรองกระดูกคอมากขึ้นก็จะมีการทรุดตัวของหมอนรองกระดูก คอมากขึ้น ทำให้ช่องว่างระหว่างกระดูกคอแคบลง และมีกระดูกงอกตามขอบของข้อต่อกระดูกคอ ที่เรียกว่า “กระดูกงอก” หรือ “หินปูนเกาะ” มีผลทำให้เกิดการตีบแคบของช่องประสาทที่ผ่านลงไป เมื่อตีบแคบถึงระดับหนึ่งก็จะเกิดการกดทับเส้นประสาท และประสาทไขสันหลัง ถ้าเป็นการกดทับเส้นประสาทก็จะทำให้เกิดการปวดร้าวลงไปตามแขนจนถึงนิ้วมือ ถ้ากดมากๆ จะทำให้เกิดอาการชาและกล้ามเนื้ออ่อนแรง ถ้ามีการกดประสาทไขสันหลังก็จะทำให้เกิดอาการเกร็ง

      แนวทางการรักษา
     ในระยะเริ่มต้นของหมอนรองกระดูกเสื่อมให้การรักษาทางยา และกายภาพบำบัด คือหลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวของกระดูกคอมากเกินไป อาจจะต้องให้นอนพักหรือมีการถ่วงดึงคอ ให้ยาลดการอักเสบและแก้ปวด บริหารกล้ามเนื้อคอให้แข็งแรงเพื่อช่วยแบกรับน้ำหนักศีรษะไม่ให้ผ่านกระดูก คอมากเกินไป อาจจะให้ใส่เครื่องพยุงคอ (Cervical collar) เพื่อช่วยเตือนให้คออยู่ในลักษณะปกติ

     ลักษณะการนอน ควรใช้หมอนนิ่มๆมีส่วนรองรับกระดูกคอให้อยู่ในลักษณะปกติ หมอนจะต้องไม่สูงเกินไป ถ้าไม่หนุนหมอนเลยก็ไม่ได้ เพราะไม่มีส่วนรองรับคอ (กระดูกคอปกติจะต้องโค้งไปทางด้านหน้าเล็กน้อย) เมื่อกระดูกคอมีการเสื่อมตัวมากแล้วและมีการกดทับเส้นประสาท หรือประสาทไขสันหลังแล้ว การรักษาทางยา และกายภาพบำบัดจะไม่ได้ผล จะต้องให้การรักษาโดยวิธีผ่าตัด

     การผ่าตัด
     การผ่าตัดที่ได้ผลดีแน่นอน คือการผ่าตัดเชื่อมกระดูกคอปล้องที่เสื่อม โดยเอาหมอนรองกระดูกที่เสื่อม พร้อมกับกระดูกงอกที่ขอบๆของข้อต่อออก แล้วทำให้ช่องประสาทกว้างขึ้น โดยเอากระดูกเชิงกรานไปใส่แทนหมอนรองกระดูกที่ถูกขูดออกไป

     ถ้ากระดูกคอมีการเสื่อมตัวหลายๆปล้อง และมีกระดูกงอกมายึดเชื่อมกันเองแล้ว แต่มีการตีบแคบของช่องประสาทมาก ก็ทำผ่าตัดไปขยายช่องประสาท ไขสันหลังให้กว้างออกไป (Laminoplasty)

     ปัจจุบันมีการผ่าตัดเอาหมอนรองกระดูกเทียม (disc prosthesis) มาใส่แทนหมอนรองกระดูกคอที่เสื่อมไปแล้ว ซึ่งการใช้หมอนรองกระดูกเทียมมีขอบเขตจำกัดมาก และผลยังไม่เป็นที่ยอมรับกันเป็นส่วนใหญ่และที่สำคัญคืออาจจะเกิดภาวะแทรก ซ้อนที่รุนแรงมากจนถึงกับเป็นอัมพาตไปได้

     การปฏิบัติตัวเพื่อไม่ให้กระดูกคอเสื่อมเร็วเกินไป
     กระดูกคอก็เหมื่อนอวัยวะส่วนอื่นของร่างกาย จะต้องมีการเสื่อมตัวไปตามอายุ แต่มีข้อแนะนำเพื่อชะลอการเสื่อมตัวของกระดูกคอหรือไม่ให้เสื่อมตัวเร็วเกิน ไป ได้แก่
1. หลีกเลี่ยงการบิดหมุนคอหรือสะบัดคอบ่อยๆ
2. การนั่งทำงาน นั่งอ่านหนังสือหรือนั่งเขียนหนังสือควรให้คออยู่ในลักษณะตรงปกติอย่าก้มคอมากเกินไป
3. การนอนควรใช้หมอนหนุนศีรษะโดยมีส่วนรองรับใต้คอให้กระดูกคออยู่ในลักษณะปกติ
4. บริหารกล้ามเนื้อคอให้แข็งแรงสม่ำเสมอ
5. หลีกเลี่ยงการทำงานโดยแหงนคอเป็นเวลานานๆบ่อยๆ
6. หลีกเลี่ยงการรักษาโดยวิธีการดัดคอหรือบิดหมุนคอ

ด้วยความปรารถหนาดีจาก... “ศูนย์โรคกระดูกและข้อ โรงพยาบาลธนบุรี”