
พบพ่อแม่อ้วน ลูกเสี่ยงเป็นสูง
โรคอ้วนกำลังระบาด เริ่มจากซีกโลกตะวันตก ไปตะวันออกกลางและตอนนี้เอเชีย และกำลังก่อตัวมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างไม่มีท่าทางจะลดลงเลย
โรค อ้วนเป็นภัยเงียบที่แฝงตัวอยู่ แม้แต่เจ้าของก็มองข้ามไป แต่ถ้าทราบถึงผลร้ายต่อร่างกายและสุขภาพแล้วจะสะดุดใจและตกใจ ให้มองที่ตนเองหรือคนใกล้ๆ ว่าอ้วนหรือเปล่า ยิ่งในเด็กแล้วยิ่งน่าเป็นห่วง
เด็ก ที่คลอดจากแม่ที่อ้วน มักจะอ้วน ว่ากันว่าโอกาสอ้วนมากกว่าแม่ที่ไม่อ้วน 4-5 เท่าทีเดียว ยิ่งถ้าแม่เป็นเบาหวาน ซึ่งมักจะอ้วนด้วย ลูกที่เกิดมาจะมีน้ำหนักตัวมาก จนบางทีคลอดไม่ได้ ต้องผ่าท้องออก สาเหตุเพราะว่าแม่ที่เป็นเบาหวานระดับน้ำตาลที่สูงในเลือดผ่านเข้าไปในตัว เด็กทางรก ไปกระตุ้นตับอ่อนในเด็กให้ทำงานมากขึ้น หลั่งอินซูลินออกมามากกว่าปกติ เหมือนกับผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานทั่วไป
อินซูลิน ที่ถูกหลั่งออกมาในเด็กทำให้มีไขมันเพิ่มขึ้นในตัวเด็ก ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าทารกที่คลอดออกจากแม่ที่เป็นเบาหวาน ตัวโตและน้ำหนักมาก หรืออีกนัยหนึ่งถ้าทารกคลอดออกมาแล้ว พบว่าน้ำหนักมากกว่าปกติ ให้สงสัยว่าแม่เป็นเบาหวานหรือเปล่า
ยัง พบอีกว่า ถ้าพ่อและแม่อ้วน ลูกยิ่งมีโอกาสอ้วนมากขึ้นไปอีก มากกว่าเด็กที่พ่อแม่ไม่อ้วนถึง 13 เท่า ถ้าตอนเป็นเด็กอ้วน ถึงแม้แม่ไม่อ้วนก็ตาม โอกาสที่พอโตเป็นผู้ใหญ่ก็จะอ้วนอีก
องค์การอนามัยโลกประมาณว่า ประชากรมากกว่า 300 ล้านคน ทั่วโลก “อ้วน” มากกว่า นั้น อาจถึง 1000 ล้านคนน้ำหนักเกิน สำหรับเด็กไทยอ้วนขึ้นเยอะ ใน 10 ปีนี้เอง มีเด็กอ้วนถึง 30% และเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 (เบาหวานชนิดที่พบในผู้ใหญ่) มากขึ้นหลายเท่า
ฮอร์โมน อินซูลินไปทำอะไร จึงทำให้อ้วน แต่ก่อนโน้นคิดว่าคนไข้ที่เป็นเบาหวาน เกิดจากตับอ่อนผลิตอินซูลินไม่พอ แต่เมื่อมีการวัดค่าในอินซูลินในเลือดได้แล้วๆ จึงพบว่าไม่ใช่ สาเหตุที่สำคัญคือภาวะที่ดื้อต่ออินซูลิน (ในเด็กที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 นั้น ขาดอินซูลินจริงๆ แต่ในเด็กหรือผู้ใหญ่ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 เกิดจากภาวะดื้ออินซูลิน)
อินซูลิน มีฤทธิ์นำน้ำตาลเข้าในเซลล์และเพิ่มไขมันในเซลล์ของร่างกายด้วย ในต้นศตวรรษที่ 20 มีการใช้อินซูลินรักษาคนไข้ที่ผอมและอยากจะอ้วน (เทรนและแฟชั่นกลับตะละปัดกับปัจจุบัน) พบว่าถ้าฉีดอินซูลินและให้กินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง น้ำหนักจะขึ้นถึง 2-3 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ทีเดียว
ใน คนที่อ้วนมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน โดยที่กล้ามเนื้อต้องการอินซูลินมากขึ้นที่ดึงดูดน้ำตาลในเลือดเข้าไปใน เซลล์โดยการชักนำของอินซูลิน ตับอ่อนต้องผลิตอินซูลินมากขึ้น ก็เป็นเหตุให้ไขมันในร่างกายเพิ่มมากขึ้น
คุณสมบัติ ที่สำคัญของอินซูลิน อีกข้อหนึ่งคือจะปิดกั้นไม่ให้กรดไขมันออกจากเซลล์ไขมันและจะดึงดูดกรดไขมัน ให้เข้าไปในเซลล์มากขึ้น การออกฤทธิ์ของอินซูลินนั้นต้องอาศัยเอ็นไซม์ที่สำคัญตัวหนึ่งคือไลโป รโปรตีนไลเปส (LPL)
ความ เชื่อที่ว่าถ้าจะไม่ให้อ้วนหรือต้องการลดความอ้วนให้ได้ผลนั้น ให้กินให้น้อยลงและออกกำลังกายมากขึ้น เพราะจริงๆ แล้วไม่ได้ผลที่ยั่งยืน แต่ต้องรู้จักกิน กินไขมันและเนื้อสัตว์ไม่อ้วน แต่ว่ากินคาร์โบไฮเดรตแล้วอ้วน และคาร์โบไฮเดรตตัวร้ายคือแป้งและน้ำตาลที่เป็นคาร์โบโฮเดรตที่ละเอียด (Refined)
น้ำตาลโดยเฉพาะน้ำตาลที่มีฟรุคโตสสูงมาจากข้าวโพด ซึ่งมีชื่อว่า High Fructose Corn Syrup (HFCS) เป็นตัวการสำคัญ เพราะว่า HFCS มีฟรุคโตสอยู่ถึง 55% และกลูโคส 45% ในน้ำตาลทรายที่รับประทาน ซึ่งมาจากอ้อย เป็น Sucrose มี Fructose 50% และกลูโคส 50%
กลูโคส เป็นเชื้อเพลิงที่เซลล์ของอวัยวะต่างๆ ของร่างกายใช้เป็นพลังงาน กลูโคสเข้าไปในเซลล์ได้เลยจากกระแสโลหิต แต่ฟรุคโตสนั้นต่างกัน ต้องอาศัยตับเปลี่ยนเป็นไตรกรีเซอร์ไรด์ ซึ่งคือ ไขมันและเก็บไว้ ดังนั้น ถ้ากินฟรุคโตสมากและนานๆ ไตรกรีเซอร์ไรด์ในเลือดก็สูงขึ้น และเมื่อกินไปนานๆ ก็ทำให้กล้ามเนื้อดื้อต่ออินซูลิน เกิดภาวะที่มีอินซูลินในเลือดสูง จึงเป็นที่มาของโรคอีกโรคที่ผมกล่าวถึงหลายครั้งคืออ้วนลงพุง (Metabolic Syndrome) คือ พุงโต ไตรกรีเซอร์ไรด์สูง เบาหวาน และความดันโลหิตสูง ฯลฯ
ดัง นั้น การรณรงค์ให้มีการลดการกินน้ำตาลโดยเฉพาะน้ำอัดลม น้ำหวาน ขนมต่างๆ สมควรจะทำอย่างจริงจังและต่อเนื่อง การกินน้ำตาลยังเป็นสาเหตุของโรคต่างๆ เช่นมะเร็ง
รู้จักกิน รู้จักอยู่ ออกกำลังกาย และระวังป้องกันไว้ก่อน ชีวิตจะมีความสุขและยืนนาว
ที่มา: การเงินธนาคาร