ผู้เขียน หัวข้อ: "ห้องน้ำสาธารณะ" เสี่ยง "โควิด-19" มากแค่ไหน?  (อ่าน 692 ครั้ง)

ออฟไลน์ webmaster

  • Administrator
  • medtech ปี เอก
  • *****
  • กระทู้: 3951
    • อีเมล์



งานวิจัยเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ พบว่า หนึ่งในกิจวัตรประจำวันที่คนเราหลีกเลี่ยงไม่ได้อย่าง การเข้าห้องน้ำเพื่อขับถ่ายอาจเป็นจุดเสี่ยงของการติดเชื้อได้ ขณะที่ตัวเลขการติดเชื้อทั่วโลกขยับเข้าใกล้ระดับ 10 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตไปแล้วกว่า 490,000 คน

แม้ว่าองค์การอนามัยโลกจะเคยให้ความเห็นไว้ว่า ความเสี่ยงของการติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้จากของเสียที่คนรับขับถ่ายออกมานั้นอยู่ในระดับต่ำ ความจริงก็คือ การศึกษาหลายชิ้นชี้ว่า เชื้อไวรัสโควิด-19 นั้นสามารถพบได้แม้ในอุจจาระจริงๆ

สำนักข่าว ซีเอ็นเอ็น รายงานความเห็นของ อาลี นูรี ประธานสมาพันธ์นักวิทยาศาสตร์อเมริกัน (Federation of American Scientists) ที่ย้ำว่า สิ่งหนึ่งที่ทุกคนควรระลึกไว้คือ หากไม่จำเป็นต้องใช้ห้องน้ำสาธารณะจริงๆ ก็จงอย่าใช้

นูรี แสดงความกังวลว่า การใช้บริการห้องน้ำสาธารณะนั้นมีความเสี่ยงหลายประการ โดยเฉพาะเรื่องของความคับแคบซึ่งหมายความว่า ผู้ใช้บริการไม่สามารถรักษาระยะห่างได้จริง นอกจากนั้น ระบบถ่ายเทอากาศในห้องน้ำมักจะไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ เนื่องจากเป็นส่วนใหญ่ไม่มีหน้าต่าง ซึ่งแปลว่า ไวรัสจะไม่เคลื่อนย้ายไปไหนและล่องลอยหรือฝังตัวอยู่นานกว่าปกติ

ยิ่งไปกว่านั้น การชักโครกสามารถทำให้ความเสี่ยงที่ว่านี้พุ่งสูงขึ้นอีก เนื่องจากแรงดันจากโถนั้นสามารถส่งละอองอนุภาคเข้าสู่อากาศได้อย่างง่ายดาย ดังนั้น สิ่งหนึ่งที่ทุกคนควรทำหากจำเป็นต้องใช้ห้องน้ำสาธารณะคือการปิดฝาโถส้วนก่อนจะกดชักโครก

ปัจจัยอื่นในห้องน้ำที่ทำให้ความเสี่ยงของการติดเชื้อเพิ่มขึ้นก็คือ เครื่องเป่าลมร้อนสำหรับมือที่สามารถกระจายเชื้อไวรัสไปได้ไกลถึง 3 เมตร ตามข้อมูลของการศึกษาเมื่อปี ค.ศ. 2015 ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Applied Microbiology

และท้ายสุด พื้นผิวต่างๆ ตั้งแต่มือจับประตูไปจนถึงก๊อกน้ำและจุดต่างๆ ภายในห้องน้ำ คือบริเวณที่มีคนมากมายสัมผัสและอาจเป็นจุดแพร่เชื้อโควิด-19 ได้

อย่างไรก็ดี นูรี ย้ำว่า เรื่องที่สำคัญที่สุดก็คือการเข้าใกล้และสัมผัสกันของผู้คน เพราะนั่นคือความเสี่ยงที่สูงที่สุด ดังที่ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐฯ ย้ำเสมอว่า นั่นคือจุดที่โควิด-19 ถูกส่งผ่านต่อไปได้มากที่สุด

แต่ในความเป็นจริงนั้น หากมีความจำเป็นที่ต้องใช้ห้องน้ำสาธารณะจริงๆ นูรี กล่าวว่า อย่างน้อยต้องใส่หน้ากาก พยายามหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้ผู้อื่น และหากในห้องน้ำมีคนอยู่มาก ก็ควรพยายามรอจนกว่าคนจะออกมาและมีพื้นที่เหลือ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อจากห้องน้ำสาธารณะได้บ้าง

และเมื่อทำทุกอย่างตามคำแนะนำข้างต้นแล้ว สิ่งสำคัญที่ต้องไม่ลืมทำก็คือ การล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำอุ่นเป็นเวลา 20 วินาทีหลังเสร็จกิจ แล้วเช็ดมือให้แห้งด้วยกระดาษ แต่อย่าใช้เครื่องเป่าลมร้อนเป็นอันขาด และหากจะจับก๊อกน้ำ ก็ให้ใช้กระดาษเปิดน้ำแล้วทิ้งเมื่อปิดน้ำแล้ว แต่ถ้าหากสะดวก ก็อาจใส่ถุงมือแบบใช้ครั้งเดียว หรือแม้แต่ถุงพลาสติกสะอาดๆ ในระหว่างเข้าห้องน้ำและถอดทิ้งเมื่อเสร็จธุระแล้วก็ได้

อย่างไรก็ตาม หลังการระบาดของโควิด-19 ลากยาวมาหลายเดือนจนถึงจุดที่ภาครัฐยอมผ่อนคลายมาตรการควบคุมและป้องกันต่างๆ ซึ่งทำให้ผู้คนสามารถออกมาใช้ชีวิตนอกบ้านได้บ้าง ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า สิ่งที่น่ากลัวกว่าการเข้าห้องน้ำสาธารณะก็คือ การที่ประชาชนลืมตัวและไม่ทำตามคำแนะนำทุกอย่างในการปฏิบัติตัวระหว่างที่วิกฤตินี้ยังไม่คลี่คลายลง ทั้งการสวมหน้ากาก การรักษาระยะห่างทางสังคม และการรักษาความสะอาดของมือนั่นเอง


ที่มา...https://www.sanook.com/health/23797/