ผู้เขียน หัวข้อ: "สธ." มุ่งมั่นรณรงค์สกัดไข้เลือดออกระบาด  (อ่าน 889 ครั้ง)

ออฟไลน์ beebee

  • medtech ปี เอก
  • ******
  • กระทู้: 1550
    • อีเมล์
"สธ." มุ่งมั่นรณรงค์สกัดไข้เลือดออกระบาด
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 05, 2012, 09:30:59 pm »
"สธ." มุ่งมั่นรณรงค์สกัดไข้เลือดออกระบาด
 


“วิทยา”เตือนฝนตก เอื้อยุงลายขยายพันธุ์ แพร่ไข้เลือดออก แนะประชาชนหมั่นตรวจเช็ก และทำลายแหล่งเพราะพันธุ์ หลังสำรวจพบจำนวนผู้ป่วยสูงขึ้นกว่าปีก่อน

วันนี้ ( 5 ก.พ. ) นายวิทยา  บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข เปิดเผยว่า จากสถานการ์ที่มีฝนตกลงมาเกือบทั่วทุกภาคในประเทศ  ทำให้มีแอ่งน้ำขังหรือมีน้ำขังอยู่ตามเศษวัสดุ เศษภาชนะต่างๆ จานรองกระถางต้นไม้ และกาบใบไม้ กลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์อย่างดีของยุงลายซึ่งเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออกซึ่งสามารถแพร่ระบาดได้ตลอดปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน ตนได้สั่งการให้สำนักงานสาธารณสุขทุกจังหวัด รณรงค์ให้ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทุกสัปดาห์อย่างต่อเนื่อง และจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อลดปริมาณยุงลายให้มากที่สุด  หากมีรายงานพบผู้ป่วยแม้เพียงรายเดียว จะต้องเร่งควบคุมโรคภายใน 24 ชม. ทำลายลูกน้ำยุงลาย พ่นสารเคมีฆ่ายุงตัวแก่ภายในบ้านและรอบบ้านผู้ป่วย ในรัศมี 100 เมตร และพ่นซ้ำอีก  7 วัน


ด้านนพ.ไพจิตร์  วราชิต  ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สถานการณ์โรคไข้เลือดออก ตั้งแต่วันที่ 1 - 19 ม.ค.ที่ผ่านมา พบผู้ป่วยทั่วประเทศ 332 ราย เสียชีวิต 1 ราย แนวโน้มสูงกว่าช่วงเดียวกันของปี54 ซึ่งมีผู้ป่วย 291 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต โดยผู้ป่วยร้อยละ 56 อยู่ในภาคกลาง 185 ราย เสียชีวิต 1 ราย รองลงมาคือภาคใต้ 69 ราย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 42 ราย และภาคเหนือ 36 ราย และตลอดปี54 ที่ผ่านมาทั่วประเทศมีผู้ป่วย 65,961 ราย เสียชีวิต 59 ราย

ทั้งนี้ โรคไข้เลือดออกพบได้ทุกวัย จะมีอาการป่วยหลังถูกยุงลายที่มีเชื้อไข้เลือดออกกัด 5-8 วัน เริ่มจากมีไข้สูงกะทันหันติดต่อกัน 2-7 วัน ผิวหน้าแดง ปวดกระบอกตา ปวดศีรษะ ครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและกระดูก คลื่นไส้ อาเจียน แต่จะไม่มีอาการไอ ไม่มีน้ำมูกไหล เหมือนไข้หวัด นอกจากนี้อาจมีผื่นหรือจุดแดงๆ ขึ้นที่ใต้ผิวหนัง หลังจากนั้นไข้จะลง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะฟื้นตัว สดชื่น แจ่มใสขึ้น และหายเป็นปกติ  แต่จะมีผู้ป่วยประมาณร้อยละ 2-5 ที่มีอาการช็อค เนื่องจากมีเลือดออกในอวัยวะภายใน เป็นอันตรายมาก มักจะเกิดหลังไข้ลง

อาการที่สังเกตได้คือผู้ป่วยจะซึมลง เบื่ออาหาร มีอาการเพลียมาก ปวดท้อง อาเจียน กระสับกระส่าย   มือเท้าเย็น ถ่ายปัสสาวะน้อยลง  ขอให้รีบพาไปโรงพยาบาลทันที กลุ่มผู้ป่วยที่ต้องระวังเป็นพิเศษ คือกลุ่มเด็กเล็กซึ่งไม่สามารถบอกอาการตัวเองได้  ดังนั้น ผู้ปกครองจะต้องใช้วิธีสังเกตอาการของเด็กอย่างใกล้ชิด หากหลังให้กินยาลดไข้ คือยาพาราเซตามอล หรือเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นแล้วไข้ไม่ลดภายใน 2 วัน หรือเด็กร้องกวนมาก ไม่กินนม ขอให้ผู้ปกครองคิดถึงว่าเด็กอาจป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก  ให้รีบพาไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเพื่อการตรวจวินิจฉัยโรคที่ถูกต้องและรักษาอย่างทันท่วงที 

นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อไปว่า ที่สำคัญหากต้องให้ยาลดไข้แก่เด็กควรเป็น พาราเซตามอล ห้ามใช้ยาแอสไพริน อย่างเด็ดขาด เนื่องจาก ยาแอสไพรินจะทำให้มีเลือดออกที่อวัยวะภายในมากขึ้น เพราะคุณสมบัติของแอสไพรินจะต้านการแข็งตัวของเกร็ดเลือด ทำให้เลือดหยุดยากและเสียชีวิตได้”

วิธีป้องกันโรคไข้เลือดออกคืออย่าให้ยุงกัดและต้องลดปริมาณยุงลาย ขอให้ประชาชนยึดหลัก 3 เก็บ คือ

1.เก็บขยะ ทั้งเศษภาชนะขังน้ำ พลาสติกเหลือใช้

2.เก็บบ้าน ให้ปลอดโปร่งไม่ให้ยุงลายเกาะพักอาศัย เก็บล้างคว่ำภาชนะใส่น้ำให้เป็นระเบียบ

และ3.เก็บน้ำ เก็บน้ำกินน้ำใช้ให้สะอาด มิดชิด โดยปิดฝาภาชนะ โอ่ง ไม่ให้ยุงลายลงไปวางไข่  หากทุกคนร่วมมือกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้านตนเองอย่างต่อเนื่องแล้ว เชื่อว่าในปีนี้โรคไข้เลือดออกจะไม่เกิดการระบาดอย่างแน่นอน.



ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์