ผู้เขียน หัวข้อ: เตือนกิน "กาแฟลดความอ้วน"ถึงขั้นหัวใจวาย  (อ่าน 3070 ครั้ง)

ออฟไลน์ vt

  • medtech ปี เอก
  • ******
  • กระทู้: 530
    • อีเมล์


กรณีกาแฟลดความอ้วน ซึ่งปัจจุบันผู้บริโภคให้ความสนใจและซื้อหามารับประทานเป็นจำนวนมากเพราะเชื่อว่าจะช่วยลดความอ้วนได้นั้น มีข้อน่าระวังอยู่หลายประการ โดยสถานการณ์ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาพบว่ามีการแพร่ระบาดวางจำหน่ายอย่างแพร่หลายในร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางค์และอาหารเสริมภายในห้างอย่างแพร่หลาย ที่ผ่านมามีสาวประเภทสองรายหนึ่งได้ยื่นร้องเรียนเข้ามายังสสจ. เมื่อพบว่ารับประทานแล้วเกิดใจสั่น แม้กินแล้วจะได้ผลว่าลดความอ้วนได้ จึงได้นำมาให้เราส่งไปตรวจวิเคราะห์ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เชียงใหม่ ผลการตรวจพบว่ากาแฟลดความอ้วนดังกล่าวมีการลักลอบผสมตัวยา ไซบูทรามีน (sibutramine)ที่มีฤทธิ์ในการลดความอยากอาหาร แต่มีผลต่อการกดหัวใจซึ่งหากรับประทานต่อเนื่องอาจทำให้หัวใจวายได้
หลังเกิดกรณีดังกล่าวขึ้นมา ทางฝ่ายงานคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานสาธารณสุข จ.เชียงใหม่จึงออกสุ่มตรวจตามร้านค้า รวมถึงแหล่งที่จำหน่ายผ่านทางอินเทอร์เน็ตต่าง ๆเป็นที่น่าตกใจที่ว่าพบมีกาแฟลดความอ้วนหลายยี่ห้อ ทั้งที่วางจำหน่ายแบบปลีกและผ่านระบบขายตรงที่มีการแอบปลอมปนตัวยาลดความอ้วนดังกล่าวเข้ามา ทั้งที่ตัวยาไซบูทรามีนนี้ปัจจุบันอนุญาตให้ใช้ได้เฉพาะในคลินิกลดความอ้วนที่ต้องสั่งจ่ายยาโดยแพทย์เท่านั้นแต่ตามกฎหมายไม่อนุญาตให้จำหน่ายตัวยานี้ตามร้านขายยา
หลังสุ่มตรวจพบปัญหาดังกล่าว เราได้ติดตามสืบสวนและพบว่าแหล่งผลิตกาแฟลดความอ้วนเหล่านี้ทั้งหมดอยู่ในกทม.และต่างจังหวัด แต่ในพื้นที่เชียงใหม่และภาคเหนือจะเป็นรูปแบบของการรับมาจำหน่าย ซึ่งเราได้ดำเนินการกับผู้รับมาจำหน่ายคืออายัดสินค้าไว้และตักเตือนว่าอย่านำมาขายซ้ำอีก ส่วนข้อมูลของแหล่งผลิตนั้นเราส่งมอบให้ทาง อย.ที่กทม.เป็นผู้รับไปดำเนินคดีต่อ จึงน่าห่วงสำหรับผู้บริโภคที่จะซื้อกาแฟลดความอ้วน เพราะแม้จะมีตราอย. จีเอ็มพีและเครื่องหมายฮาลาลติดอยู่แต่ก็อาจยังไม่ปลอดภัย เพราะผู้ผลิตจะใช้วิธีการยื่อนขอเครื่องหมาย อย.ก่อน หลังได้ อย.มาก็ถึงจะตีพิมพ์ภาพและข้อความโฆษณาในเชิงว่าสินค้าของตัวเองช่วยลดความอ้วนได้ เช่นบางยี่ห้อที่ถูกจับกุมและกระทำผิดได้เขียนข้อความไว้ว่า "เร่งการเผาผลาญไขมัน ควบคุมน้ำหนัก ไม่มีผลข้างเคียงต่อสมอง รับรองการเปลี่ยนแปลงภายใน 1 เดือน" ข้อความเหล่านี้ขอ อย.แล้วถึงมาผลิตติดกล่องในภายหลัง จึงทำให้ประชาชนมั่นใจว่ามี อย.และน่าจะเชื่อได้ตามโฆษณาที่เขียนติดๆไว้
ผลิตภัณฑ์กาแฟลดความอ้วนที่มีจำหน่ายในท้องตลาดไม่ใช่ว่าจะมีการแอบนำตัวยาลดความอ้วนดังกล่าวมาผสมทุกยี่ห้อ สำหรับยี่ห้อที่ไม่นำตัวยานี้มาผสม แต่ก็จะใช้วิธีการเขียนติดที่ข้างกล่องว่ามีส่วนผสมประกอบด้วยสมุนไรหรือส่วนประกอบบางอย่างที่อาจจะให้ผลในการเพิ่มไฟเบอร์ เพิ่มกาก หรือทำให้อิ่มจริง แต่ก็ใส่ผสมในปริมาณที่น้อยซึ่งบางครั้งไม่ได้ปริมาณที่จะทำให้ส่วนประกอบนั้น ๆออกฤทธิ์ตามที่มันควรจะเป็นด้วยซ้ำ