ผู้เขียน หัวข้อ: "ฮุนเซ็น"ฟ้องอาเซียน ฉะไทยรุกรานกัมพูชา  (อ่าน 2219 ครั้ง)

ออฟไลน์ vt

  • medtech ปี เอก
  • ******
  • กระทู้: 530
    • อีเมล์


 การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 18 ได้เริ่มขึ้นแล้ว โดยมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 7 พฤษภาคม ที่ศูนย์การประชุมจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งหลังในช่วงเช้าหลังพิธีเปิด มีการประชุมเต็มคณะของผู้นำอาเซียนและการพบปะหารืออย่างไม่เป็นทางการระหว่างผู้นำอาเซียน ซึ่งจะเป็นการติดตามผลการดำเนินงานการก้าวไปสู่การเป็นประชาคมของอาเซียน

 ฮุนเซ็นฟ้องอาเซียนไทยรุกราน

 สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า ระหว่างการประชุมเต็มคณะของผู้นำอาเซียน สมเด็จฮุน เซ็น นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ได้กล่าวแถลงการณ์ความยาว 6 หน้า ต่อผู้นำอาเซียนโดยมุ่งเน้นไปที่การสู้รบระหว่างกัมพูชากับไทยบริเวณชายแดน โดยกล่าวหาทหารไทยเป็นฝ่ายรุกรานก่อน รวมถึงประเด็นระดับภูมิภาคอื่นๆ อาทิ ความขัดแย้งระหว่างสมาชิกชาติอื่นๆ และจีนในทะเลจีนใต้ และการก่อการร้าย

 จี้ถอนทหารพ้นพระวิหาร

 สมเด็จฮุนเซ็น ระบุว่า ข้อเรียกร้องของไทยที่ต้องการให้ถอนทหารออกจากพื้นที่พิพาทบริเวณชายแดนระหว่างสองประเทศนั้น ไม่มีเหตุผลและไม่สามารถยอมรับได้

 "เงื่อนไขนี้ไม่มีเหตุผลและยอมรับไม่ได้ จริงๆ แล้ว เป็นประเทศไทยเองที่จะต้องถอนทหารจากบริเวณใกล้เคียงพื้นที่พิพาท ตามการตัดสินของศาลอาญาระหว่างประเทศที่กรุงเฮก เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2505" สมเด็จฮุน เซ็น กล่าว

 เรียกร้องอาเซียนอุ้มกัมพูชา

 พร้อมกันนี้ได้ย้ำว่า การสู้รบบริเวณชายแดนไม่เพียงแต่จะส่งผลกระทบต่อสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาคเท่านั้น แต่ยังอาจสร้างปัญหาร้ายแรงสำหรับอาเซียนในการเดินหน้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 อีกทั้งยังได้เรียกร้องให้ผู้นำอาเซียนสนับสนุนและผลักดันมาตรการที่จำเป็นให้เดินหน้า เพื่อทำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องร่วมมือกันและยอมรับคณะผู้สังเกตการณ์ที่ปราศจากอาวุธมาประจำพื้นที่พิพาทบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชาโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

 "เกียรติภูมิและความน่าเชื่อถือของอาเซียนจะตกอยู่ในความเสี่ยงสูง ถ้าความพยายามในการหยุดยิงถาวรไม่เกิดขึ้นตามแผนการที่วางไว้" ฮุนเซ็น กล่าวในตอนท้าย

 "มาร์ค"ลุกขึ้นโต้ทันควัน

 ขณะที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ลุกขึ้นกล่าวชี้แจงต่อที่ประชุมว่า ไทยต้องการแก้ไขปัญหาตามกลไกที่มีอยู่ โดยไม่รุกรานใคร แต่กัมพูชาพยายามนำปัญหานี้เข้าสู่ระดับสากล ขณะที่ประเทศสมาชิกอาเซียนส่วนใหญ่ให้ความเห็นอย่างกว้างขวาง โดยยึดมั่นในหลักสันติที่จะแก้ไขปัญหาลักษณะที่ไม่ใช้กำลัง และหวังว่าไทยกับกัมพูชาจะมีการพูดคุยกัน

 ซัดหน้าหงายเขมรแหกข้อตกลง

 นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึงการส่งผู้สังเกตการณ์ลงพื้นที่ด้วยว่า ในเรื่องการส่งผู้สังเกตการณ์ ไทยมีความกังวลอยู่ 2 เรื่องคือกังวลว่า ทหารของกัมพูชาที่อยู่ในบริเวณปราสาทพระวิหารขัดต่อข้อตกลงของคณะกรรมการมรดกโลก และกองกำลังและชุมชนในพื้นที่ จะทำให้เกิดความซ้ำซ้อน ในการให้ผู้สังเกตการณ์เข้าไป ดังนั้น ต้องแก้ไขปัญหาด้วยการถอนทหารออกจากพื้นที่ก่อน

 อาเซียนไม่หลงกลหนุนทวิภาคี

 ทั้งนี้ภายหลังจาก นายอภสิทธิ์ ให้ข้อมูลกับที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ทำให้บรรยากาศการประชุมคลี่คลายลง โดยผู้นำประเทศต่างๆ ส่วนใหญ่ต่างให้ความเห็นกว้างๆ ว่า ทั้ง 2 ประเทศควรยึดมั่นในหลักการสันติที่จะแก้ไขปัญหาในลักษณะที่ไม่ใช้กำลัง และต้องการให้อยู่ในกรอบ ที่ตกลงของอาเซียน และหวังว่าจะมีการพูดคุยกันในระดับทวิภาคี

 ฟิลิปปินส์รับปากช่วยกล่อม

 ทั้งนี้ในเวลา 10.45 น. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้หารือทวิภาคีกับ นายเบนิกโน เอส อาคีโน ที่สาม ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ โดย นายอภิสิทธิ์ กล่าวแสดงความยินดีที่จะมีโอกาสต้อนรับประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ ซึ่งจะเดินทางเยือนประเทศไทยในวันที่ 26-27 พฤษภาคม โดยผู้นำทั้ง 2 ฝ่าย ต่างชื่นชมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน

 ในโอกาสนี้ นายอภิสิทธิ์ ยังได้ร้องขอให้ฟิลิปปินส์ช่วยโน้มน้าวกัมพูชาให้กลับสู่โต๊ะเจรจาทวิภาคี เนื่องจากกัมพูชาหยิบยกประเด็นความขัดแย้งกับไทยมาสู่ที่ประชุม ซึ่ง ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ กล่าวว่า รัฐบาลฟิลิปปินส์พร้อมจะให้ความสนับสนุนประเทศไทย ตามที่ประเทศไทยต้องการ และยินดีที่จะให้ความช่วยเหลือไทยในเรื่องต่างๆที่เป็นประโยชน์

 ตาเมือนธมเผชิญหน้าหวิดปะทะ

 ด้านความเคลื่อนไหวบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชาด้าน จ.สุรินทร์ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลาประมาณ 11.30 น. วันเดียวกัน ทหารไทยได้เข้าไปซ่อมแซมและสร้างรั้วไม้กั้นทางขึ้นปราสาทตาเมือนธมเพิ่มเติม ภายหลังจากมีการปะทะกัน แต่ปรากฏว่า พ.อ.เนี๊ยะ วงศ์ ผู้บังคับกองร้อยทหารชายแดนที่ 402 ได้สั่งการให้ลูกน้องนำกำลังทหารพร้อมอาวุธครบมือ เข้ามาคัดค้านการสร้างรั้วกั้นของทหารไทย และขอให้รื้อรั้วทั้งหมดออก โดยการเจรจาเป็นไปอย่างตึงเครียด ระหว่างนั้นเองทหารกัมพูชาได้รับคำสั่งให้ยิง แต่ทหารไทยไหวตัวทันจึงกระโดดล็อกตัวผู้บังคับหมวดของฝ่ายกัมพูชาเอาไว้เพื่อเป็นโล่ห์ป้องกันไม่ให้ทหารกัมพูชายิง ก่อนทหารจะค่อยๆ ล่าถอยออกมายังพื้นที่ปลอดภัย และปล่อยตัวนายทหารกัมพูชาคนดังกล่าวกลับคืนไป

 ไทยยอมรื้อรั้วล้อมปราสาท

 อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมาทหารไทยได้รับคำสั่งให้รื้อถอนรั้วดังกล่าวออกมา เพื่อลดความตึงเครียดและเลี่ยงปัญหาการปะทะกันที่จะเกิดขึ้นตามมา แต่ทั้งนี้มีรายงานว่า ระหว่างมีการรื้อรั้วออก ทหารกัมพูชาได้มีการสร้างบังเกอร์ทหารตรงข้ามปราสาทตาเมือนธมห่างออกไปเพียงไม่กี่เมตรอีกด้วย

 พธม.วางเงื่อนไขยุติชุมนุม

 ด้าน พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ออกมาประกาศในวันเดียวกันว่า จากการประชุมร่วมระหว่างคณะกรรมการป้องกันราชอาณาจักรไทยกับแกนนำพันธมิตรฯ มีมติว่า หลังจากที่รัฐบาลประกาศยุบสภาแล้ว พันธมิตรฯจะชุมนุมต่อไปจนเสร็จสิ้นการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก หรือประมาณปลายเดือนพฤษภาคมถึงต้นเดือนมิถุนายน หลังจากนั้นจะยุติการชุมนุมทันที ไม่ว่าผลการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกจะออกมาอย่