ผู้เขียน หัวข้อ: บุหรี่ก่อโรครำมะนาด  (อ่าน 1844 ครั้ง)

ออฟไลน์ IloveMT

  • medtech ป โท
  • *****
  • กระทู้: 289
    • อีเมล์
บุหรี่ก่อโรครำมะนาด
« เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2011, 07:29:00 pm »

       ทพญ.สุธาสินี ฉันท์เรืองวณิชย์ งานทันตกรรม รพ.ศิริราช:บทความ
       นิษฐ์ภัสสร ห่อเนาวรัตน์ : เรียบเรียง
      
       จะว่าไปแล้วพิษภัยของบุหรี่เป็นที่รู้กันโดยทั่วไป แต่คนไทยจำนวนไม่น้อยยังนิยมสูบบุหรี่ โดยเฉลี่ยคนไทยอายุมากกว่า 15 ปี ติดบุหรี่ถึง 9.5 ล้านคน  ในที่นี้เป็นเยาวชนไทยถึง 1.2 ล้านคน   แบ่งเป็นเพศชาย 9 ล้านคน หรือร้อยละ 36.5  และเพศหญิง 420,000 คน หรือร้อยละ 1.6 ที่เป็นเช่นนี้เพราะบุหรี่มีรสชาติชวนสูบ ด้วยกลิ่นของใบยาสูบและสารเคมีหลายร้อยชนิดที่ใช้ในการปรุงแต่งกลิ่นรสเพื่อลดการระคายเคืองนี่เอง  เมื่อเกิดการเผาไหม้จะทำให้เกิดสารเคมีมากกว่า 4,000 ชนิด และมีสาร 43 ชนิดที่เป็นสารก่อมะเร็ง  ที่สำคัญ  ได้แก่ นิโคติน (Nicotine)  ทาร์ (Tar)  คาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon monoxide) ไฮโดรเจนไดออกไซด์ (Hydrogen dioxide) ไนโตรเจนไดออกไซด์ (Nitrogen dioxide)  แอมโมเนีย (Ammonia) และไซยาไนด์ (Cyanide)  ฯลฯ  
      
          
       อย่างไรก็ดี ความสูญเสียที่มีผลต่อสุขภาพนั้นมากมาย ตั้งแต่โรคมะเร็ง ถุงลมโป่งพอง  และโรคฟัน โดยเฉพาะโรครำมะนาด เนื่องจากสารพิษจำพวกนิโคตินในบุหรี่จะทำให้เส้นเลือดฝอยทั่วร่างกายหดตัว  เลือดไปเลี้ยงผิวหนังรวมทั้งริมฝีปากน้อยลง ริมฝีปากจึงคล้ำกว่าคนทั่วไปที่ไม่สูบบุหรี่ และมีผลเสียต่อตัวฟัน  เนื้อเยื่ออ่อนในช่องปาก รวมถึงการเกิดมะเร็งในช่องปาก นอกจากนี้ยังพบการสะสมของหินปูน ซึ่งมีโอกาสเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรครำมะนาด ซ้ำร้ายมีกลิ่นปากอันไม่พึงประสงค์ด้วย ซึ่งบางคนคิดว่าการใช้ยาอมระงับกลิ่นจะสามารถดับได้ แต่เพียงชั่วคราวเท่านั้นค่ะ  
          
       สำหรับอาการของโรครำมะนาดที่พบคือ  เหงือกเป็นสีแดงช้ำ มีเลือดออกขณะแปรงฟัน มีกลิ่นปาก เหงือกบวมเป็นหนอง รู้สึกว่าฟันยาวขึ้น ฟันห่าง หรือมีฟันโยกร่วมด้วย และเมื่ออาการรุนแรงมากขึ้น ผู้ป่วยจะรู้สึกปวด และอาจสูญเสียฟันหมดทั้งปากได้ ฟังแล้วรู้สึกว่าน่ากลัวนะคะ    ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดของการป้องกันไม่ให้โรครำมะนาดกลับมาอีก คือ การดูแลรักษาความสะอาดในช่องปากด้วยการแปรงฟันอย่างถูกวิธี และการใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำทุกวัน ดังนั้นผู้ที่มีปัญหาโรครำมะนาด  จำเป็นต้องได้รับการดูแลจากทันตแพทย์อย่างต่อเนื่อง  ส่วนผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ  หากเลิกสูบบุหรี่อย่างถาวร  นอกจากจะส่งผลดีต่อสุขภาพโดยรวมแล้ว  ยังช่วยให้มีอายุยืนยาวกว่า ผู้ที่ยังสูบบุหรี่อีกด้วย

 ลองใช้วันที่ 31 พฤษภาคม ซึ่งเป็นวันงดสูบบุหรี่โลก มาเริ่มต้นเลิกสูบบุหรี่กันดีไหมคะ  อย่างน้อยก็เพื่อตัวคุณเองและคนที่คุณรัก