ผู้เขียน หัวข้อ: โรคเบาหวาน  (อ่าน 3064 ครั้ง)

ออฟไลน์ webmaster

  • Administrator
  • medtech ปี เอก
  • *****
  • กระทู้: 3951
    • อีเมล์
โรคเบาหวาน
« เมื่อ: เมษายน 19, 2013, 11:34:04 am »
โรคเบาหวาน





โรคเบาหวาน เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมของตับอ่อน โดยตับอ่อนสร้าง "ฮอร์โมนอินซูลิน" (Insulin) ได้น้อย หรือแทบไม่ได้เลย ฮอร์โมนชนิดนี้มีหน้าที่คอยช่วยให้ร่างกายเผาผลาญ โรคนี้เป็นโรคเรื้อรังและเป็นโรคทางพันธุกรรม โดยพ่อแม่ที่เป็นเบาหวานมีโอกาสถ่ายทอดไปยังลูกหลานได้ นอกจากพันธุกรรมแล้ว สิ่งแวดล้อม วิธีการดำเนินชีวิต การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย ก็มีส่วนสำคัญต่อการเกิดเบาหวานด้วย เช่น อ้วนเกินไป (หรือกินหวานมากๆ จนอ้วน ก็อาจเป็นเบาหวานได้) มีลูกดก หรือเกิดจากการใช้ยา เช่น สเตอรอยด์ ยาขับปัสสาวะ, ยาเม็ดคุมกำเนิด หรืออาจพบร่วมกับโรคอื่นๆ เช่น ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง, มะเร็งของตับอ่อน, ตับแข็งระยะสุดท้าย เป็นต้น

ลักษณะโดยทั่วไปของผู้ป่วย โรคเบาหวาน จะมีอาการปัสสาวะบ่อยและมาก เนื่องจากน้ำตาลที่ออกมาทางไตจะดึงเอาน้ำจากเลือดออกมาด้วย จึงทำให้มีปัสสาวะมากกว่าปกติ เมื่อถ่ายปัสสาวะมาก ก็ทำให้รู้สึกกระหายน้ำ ต้องคอยดื่มน้ำบ่อยๆ และด้วยความที่ผู้ป่วยไม่สามารถนำน้ำตาลมาเผาผลาญเป็นพลังงาน จึงหันมาเผาผลาญกล้ามเนื้อและไขมันแทน ทำให้ร่างกายผ่ายผอม ไม่มีไขมัน กล้ามเนื้อฝ่อลีบ อ่อนเปลี้ย เพลียแรง นอกจากนี้ การมีน้ำตาลคั่งอยู่ในอวัยวะต่างๆ จึงทำให้อวัยวะต่างๆ เกิดความผิดปกติ และนำมาซึ่งภาวะแทรกซ้อนมากมาย โรคเบาหวาน สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ ได้แก่
โรคเบาหวาน ชนิดพึ่งอินซูลิน (Insulin dependent diabetes) เป็นชนิดที่พบได้น้อย แต่มีความรุนแรงและอันตรายสูง มักพบในเด็กและคนอายุต่ำกว่า 25 ปี แต่ก็อาจพบในคนสูงอายุได้บ้าง ตับอ่อนของผู้ป่วยชนิดนี้จะสร้างอินซูลินไม่ได้เลยหรือได้น้อยมาก
ดังนั้น ผู้ป่วย โรคเบาหวาน จึงจำเป็นต้องพึ่งพาการฉีดอินซูลินเข้าทดแทนในร่างกายทุกวัน จึงจะสามารถเผาผลาญน้ำตาลได้เป็นปกติ มิเช่นนั้น ร่างกายจะเผาผลาญไขมันจนทำให้ผ่ายผอมอย่างรวดเร็ว และถ้าเป็นุรนแรง จะมีการคั่งของสารคีโตน (Ketones) ของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญไขมัน ซึ่งสารนี้จะเป็นพิษต่อระบบประสาท ทำให้ผู้ป่วยหมดสติและทำให้เสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว เรียกว่า "ภาวะคั่งสารคีโตน" หรือ "คีโตซิส" (Ketosis)

โรคเบาหวาน ชนิดไม่พึ่งอินซูลิน (Non-Insulin dependent diabetes) เป็นเบาหวานชนิดที่พบเห็นกันเป็นส่วนใหญ่ มีความุรนแรงน้อยกว่าประเภทแรก มักพบในคนอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป แต่ก็อาจพบในเด็กหรือวัยหนุ่มสาวได้บ้าง โดยตับอ่อนของผู้ป่วยชนิดนี้ยังสามารถสร้างอินซูลินได้ แต่ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย จึงทำให้มีน้ำตาลที่เหลือใช้กลายเป็นเบาหวานได้ บางครั้งถ้าระดับน้ำตาลสูงมาก ๆ ก็อาจต้องใช้อินซูลินฉีดเป็นครั้งคราว แต่ไม่ต้องใช้อินซูลินตลอดไป
เมื่อเป็นเบาหวานเป็นระยะเวลานาน โดยไม่ได้รับการรักษาอย่างจริงจัง มักจะเกิดอาการแทรกซ้อนต่างๆขึ้นได้ดังต่อไปนี้ เช่น

ตา อาจเป็นต้อกระจกก่อนวัย
ประสาทตาหรือจอตา (Retina) เสื่อม หรือเลือดออกในน้ำวุ้นลูกตา (vitreous hemorrhage) ทำให้มีอาการตามัวลงเรื่อยๆ หรือมองเห็นจุดดำลอยไปลอยมา และอาจทำให้ตาบอดในที่สุด

ผนังหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis)
ทำให้เป็นโรคความดันโลหิตสูง, อัมพาต, โรคหัวใจขาดเลือด ถ้าหลอดเลือดที่เท้าตีบแข็ง เลือดไปเลี้ยงเท้าไม่พอ อาจทำให้เท้าเย็นเป็นตะคริว หรือปวดขณะเดินมากๆ หรืออาจทำให้เป็นแผลหายยาก หรือเท้าเน่า (ซึ่งอาจเกิดร่วมกับการติดเชื้อ)
    
ระบบประสาท
ผู้ป่วยอาจเป็นปลายประสาทอักเสบ มีอาการชาหรือปวดร้อนตามปลายมือปลายเท้า ซึ่งอาจทำให้มีแผลเกิดขึ้นที่เท้าได้ง่าย (อาจลุกลามจนเท้าเน่า) บางคนอาจมีอาการวิงเวียนเนื่องจากมีภาวะความดันตกในท่ายืน บางคนอาจไม่มีความรู้สึกทางเพศ ท้องเดินตอนกลางคืนบ่อย หรือกระเพาะปัสสาวะไม่ทำงาน (กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือไม่มีแรงเบ่งปัสสาวะ)

ไต มักจะเสื่อม
จนเกิดภาวะไตวาย มีอาการ บวม ซีด ความดันโลหิตสูง ซึ่งอาจเป็นเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้

เป็นโรคติดเชื้อได้ง่าย
เนื่องจากภูมิต้านทานโรคต่ำ เช่น วัณโรคปอด, กระเพาะปัสสาวะอักเสบ, กรวยไตอักเสบ, ช่องคลอดอักเสบ, เป็นฝีพุพองบ่อย, เท้าเป็นแผลซึ่งอาจลุกลามจนเท้าเน่า (อาจต้องตัดนิ้วหรือตัดขา) เป้นต้น

การรักษา
การรักษาโรคเบาหวานในปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและหลากหลาย ทั้งนี้ขั้นตอนหรือ แนวทางวิธีการรักษานั้นขึ้นอยู่กับสาขาทางการแพทย์นั้นๆ

โดยทั่วไปแล้ว การแพทย์แผนปัจจุบันจะมีแนวทางในการรักษาคือได้แก่ การรับประทานยาหรือฉีดยา(อินซูลิน) ควบคู่ไปกับการควบคุมอาหารและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่ทว่า การใช้ยาเป็นระยะเวลานานๆ จะมีผลกระทบต่อการทำงานของอวัยวะต่างๆของรางกายโดยเฉพาะ ตับและไต ดังนั้นการคำนึงถึงผลกระทบต่ออวัยวะดังกล่าวจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่เราควรตระหนักถึงเช่นกัน

ในการรักษาตามแนวทางแพทย์ทางเลือกหรือการแพทย์แบบผสมผสานนั้นจะมีหลักการที่สำคัญได้แก่ เพื่อการฟื้นฟูประสิทธิภาพการทำงานของอวัยวะส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเกิดของโรคนั้นๆ กล่าวคือการฟื้นฟูอวัยวะต่างๆ ได้แก่ตับอ่อน ตับ ไต และหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวาน จึงเป็นกุญแจสำคัญของการรักษาโรคนั่นเอง

การฟื้นฟูร่างกายที่มีประสิทธิสูงนี้เรียกว่า เซลล์ซ่อมเซลล์ (Organopeptide Therapy) โดยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญจะพิจารณาให้ใช้เซลล์ซ่อมเซลล์ ตามความรุนแรงการเสื่อมของอวัยวะที่เกี่ยวข้อง

การตกค้างของสารพิษต่างๆ ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดการเสื่อมของตับอ่อน ทั้งยังส่งผลกระทบโดยตรงกับระบบการไหลเวียนและหลอดเลือด เราจึงสามารถพิจารณาใช้ คลีเลชั่นบำบัด (Chelation therapy) เพื่อส่งเสริมและฟื้นฟูประสิทธิภาพอวัยวะของผู้ป่วยได้ด้วยเช่นกัน

การจำกัดหมวดหมู่และปริมาณการรับประทานอาหารของผู้ป่วยเบาหวานมีผลกระทบอย่างยิ่งทั้งนี้เพื่อการรักษาและการควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือด การงดอาหารบางประเภทหรือบางจำพวก อาจก่อให้เกิดการขาดวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อความต้องการของร่างกายได้ ดังนั้นการใช้ วิตามินบำบัด (Supplement Therapy) ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีหลัก ที่เราสามารถเลือกใช้ควบคู่ไปกับวิธีการรักษาต่างๆที่กล่าวมาในเบื้องต้น