โครงการอบรมฟื้นฟูความรู้ทางคลินิก การให้คำปรึกษาในงานเทคนิคการแพทย์และห้องปฏิบัติการ ครั้งที่ ๔
เรื่อง “กรณีศึกษาในงานเทคนิคการแพทย์และห้องปฏิบัติการ”
วันพุธที่ ๑๕ ถึง วันศุกร์ที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๖
ณ โรงแรม อโมร่า ท่าแพ เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
--------------------
๑. ชื่อโครงการ
โครงการอบรมฟื้นฟูความรู้ทางคลินิก การให้คำปรึกษาในงานเทคนิคการแพทย์และห้องปฏิบัติการ ครั้งที่ ๔เรื่อง กรณีศึกษาในงานเทคนิคการแพทย์และห้องปฏิบัติการ”
๒. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
๓. หลักการและเหตุผล
คุณภาพของการตรวจทางห้องปฏิบัติในแขนงต่างๆ สำหรับงานเทคนิคการแพทย์ ได้แก่ เคมีคลินิก จุลชีววิทยาคลินิก วิทยาศาสตร์การบริการโลหิต ภูมิคุ้มกันวิทยาคลินิก โลหิตวิทยาคลินิก และจุลทรรศนศาสตร์คลินิก ขึ้นกับระบบประกันคุณภาพทั้งภายในและภายนอก เป็นเครื่องมือสร้างความเชื่อมั่น ต่อผู้ปฏิบัติการและผู้รับบริการ ซึ่งน่าจะเพียงพอต่อความต้องการในเรื่องของผลตรวจ อย่างไรก็ตาม หากผู้ปฏิบัติงานรู้จักโรค การวินิจฉัยของแพทย์ และมีความรู้เกี่ยวกับสมมุติฐาน พยาธิสรีรวิทยาของการเกิดโรค รวมถึงกลไกการทำงานของอวัยวะ เนื้อเยื่อและเมตาบอลิสมทางชีวเคมีที่เกี่ยวข้อง จะทำให้สามารถมองภาพรวมของผลตรวจทางห้องปฏิบัติการที่พึงจะได้รับ หรือควรจะเป็น ดังนั้น หากผู้ปฏิบัติการมีความรู้ทั้งเบื้องต้น และเบื้องลึกในเรื่องคุณภาพ ชนิด ปริมาณ และความเฉพาะ ของสิ่งส่งตรวจ ลักษณะและรูปแบบของผลตรวจ ที่ควรจะเป็น หรือได้รับ มีความสอดคล้อง หรือไม่กับพยาธิสภาพ หรืออาจมีปัจจัยใดที่ทำให้ผลการตรวจวิเคราะห์ ไม่เป็นไปตามคาด เช่น สูง หรือต่ำเกินไป การพบหรือไม่พบ สิ่งที่ควรมีอยู่ สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถ ประเมินผลการตรวจวิเคราะห์ที่ได้รับ ได้อย่างถูกต้องมากขึ้น รวมถึงการพิจารณาขอตรวจซ้ำ หรือตรวจปฏิบัติการอื่นเพิ่มเติม เพื่อช่วยการวินิจฉัยของแพทย์ได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
นักเทคนิคการแพทย์ที่ดีและมีคุณภาพ จึงไม่เพียงแต่มีความรู้ในการปฏิบัติงานถูกต้องเท่านั้น ประสบการณ์เรื่อง กรณีศึกษาจากผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพต่างๆ จึงเป็นสิ่งที่ช่วยเสริมและเพิ่มความแม่นยำ ความเข้าใจ และอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น และส่งผลต่อผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ทั้งด้านการตรวจพิสูจน์และการตรวจเพื่อวินิจฉัย โครงการฟื้นฟูความรู้ทางคลินิก เรื่อง กรณีศึกษาในงานเทคนิคการแพทย์และห้องปฏิบัติการ จึงจัดขึ้นเพื่อสร้างเสริมความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์แก่ผู้ปฏิบัติงานทาง ให้สามารถเข้าใจและอธิบายความผิดปกติของ ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ที่เกี่ยวข้อง และสอดคล้องกับพยาธิวิทยา เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันระหว่างแพทย์ และพยาบาลผู้ปฏิบัติงาน และนักเทคนิคการแพทย์ ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้เรียนรู้ ประสบการณ์กรณีศึกษา และแนวทางการดำเนินงาน ด้านห้องปฏิบัติการจาก คณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในแขนงวิชาต่างๆ ด้านเทคนิคการแพทย์และวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ อันเป็นการเพิ่มทักษะการปฏิบัติงาน รวมถึงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเพื่อนร่วมงานจากหน่วยงานต่างๆ อีกด้วย
๔. วัตถุประสงค์
๑. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องพยาธิสรีรวิทยา กลไกการเกิดโรค จากกรณีศึกษาใน
ลักษณะต่างๆ ได้แก่ เคมีคลินิก จุลชีววิทยาคลินิก ภูมิคุ้มกันวิทยาคลินิก วิทยาศาสตร์การบริการโลหิต
โลหิตวิทยาคลินิกและจุลทรรศนศาสตร์คลินิก ความสอดคล้องและการพิจารณาผลการตรวจทาง
ห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้อง ตลอดถึงความสามารถในการอธิบายผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เกิดขึ้นได้
๒. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง
๓. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันระหว่างห้องปฏิบัติการ
๕. คุณสมบัติและจำนวนผู้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ
- นักเทคนิคการแพทย์ แพทย์ พยาบาล นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ เจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์การแพทย์
และผู้สนใจ จำนวน ๑๐๐ คน
- คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
๖. ระยะเวลาในการอบรม ๓ วัน ระหว่าง -- วันพุธที่ ๑๕ ถึง วันศุกร์ที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๖
๗. สถานที่จัดอบรม ณ โรงแรม อโมร่า ท่าแพ เชียงใหม่
๘. วิธีการจัดอบรม
- บรรยาย สัมมนา และอภิปรายกลุ่ม
๙. ค่าลงทะเบียน คนละ ๓,๗๐๐ บาท
๑๐. วิทยากร
วิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และโรงพยาบาล
เลขาธิการสภาเทคนิคการแพทย์
คณาจารย์ ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
๑๑. การเก็บคะแนนการศึกษาต่อเนื่อง
ผู้จัดการอบรม จะประสานงานกับสภาเทคนิคการแพทย์เพื่อจัดส่งคะแนนการศึกษาต่อเนื่องสะสมสำหรับ
นักเทคนิคการแพทย์ (CMTE) ที่เข้าร่วมอบรม
๑๒. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
๑. ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องพยาธิสรีรวิทยา กลไกการเกิดโรค จากกรณีศึกษาในลักษณะ
ต่างๆ ได้แก่ เคมีคลินิก จุลชีววิทยาคลินิก ภูมิคุ้มกันวิทยาคลินิก วิทยาศาสตร์การบริการโลหิต โลหิตวิทยา
คลินิก และจุลทรรศนศาสตร์คลินิก ความสอดคล้องและการพิจารณาผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่
เกี่ยวข้อง และสามารถอธิบายผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เกิดขึ้นได้
๒. ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง
๓. ผู้เข้าร่วมอบรมได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้ซึ่งกันและกันระหว่างห้องปฏิบัติการ
ลงทะเบียนตามลิ้งค์ด้านล่าง
http://www.ams.cmu.ac.th/conferences/index.php?projectId=7
เรื่อง “กรณีศึกษาในงานเทคนิคการแพทย์และห้องปฏิบัติการ”
วันพุธที่ ๑๕ ถึง วันศุกร์ที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๖
ณ โรงแรม อโมร่า ท่าแพ เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
--------------------
๑. ชื่อโครงการ
โครงการอบรมฟื้นฟูความรู้ทางคลินิก การให้คำปรึกษาในงานเทคนิคการแพทย์และห้องปฏิบัติการ ครั้งที่ ๔เรื่อง กรณีศึกษาในงานเทคนิคการแพทย์และห้องปฏิบัติการ”
๒. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
๓. หลักการและเหตุผล
คุณภาพของการตรวจทางห้องปฏิบัติในแขนงต่างๆ สำหรับงานเทคนิคการแพทย์ ได้แก่ เคมีคลินิก จุลชีววิทยาคลินิก วิทยาศาสตร์การบริการโลหิต ภูมิคุ้มกันวิทยาคลินิก โลหิตวิทยาคลินิก และจุลทรรศนศาสตร์คลินิก ขึ้นกับระบบประกันคุณภาพทั้งภายในและภายนอก เป็นเครื่องมือสร้างความเชื่อมั่น ต่อผู้ปฏิบัติการและผู้รับบริการ ซึ่งน่าจะเพียงพอต่อความต้องการในเรื่องของผลตรวจ อย่างไรก็ตาม หากผู้ปฏิบัติงานรู้จักโรค การวินิจฉัยของแพทย์ และมีความรู้เกี่ยวกับสมมุติฐาน พยาธิสรีรวิทยาของการเกิดโรค รวมถึงกลไกการทำงานของอวัยวะ เนื้อเยื่อและเมตาบอลิสมทางชีวเคมีที่เกี่ยวข้อง จะทำให้สามารถมองภาพรวมของผลตรวจทางห้องปฏิบัติการที่พึงจะได้รับ หรือควรจะเป็น ดังนั้น หากผู้ปฏิบัติการมีความรู้ทั้งเบื้องต้น และเบื้องลึกในเรื่องคุณภาพ ชนิด ปริมาณ และความเฉพาะ ของสิ่งส่งตรวจ ลักษณะและรูปแบบของผลตรวจ ที่ควรจะเป็น หรือได้รับ มีความสอดคล้อง หรือไม่กับพยาธิสภาพ หรืออาจมีปัจจัยใดที่ทำให้ผลการตรวจวิเคราะห์ ไม่เป็นไปตามคาด เช่น สูง หรือต่ำเกินไป การพบหรือไม่พบ สิ่งที่ควรมีอยู่ สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถ ประเมินผลการตรวจวิเคราะห์ที่ได้รับ ได้อย่างถูกต้องมากขึ้น รวมถึงการพิจารณาขอตรวจซ้ำ หรือตรวจปฏิบัติการอื่นเพิ่มเติม เพื่อช่วยการวินิจฉัยของแพทย์ได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
นักเทคนิคการแพทย์ที่ดีและมีคุณภาพ จึงไม่เพียงแต่มีความรู้ในการปฏิบัติงานถูกต้องเท่านั้น ประสบการณ์เรื่อง กรณีศึกษาจากผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพต่างๆ จึงเป็นสิ่งที่ช่วยเสริมและเพิ่มความแม่นยำ ความเข้าใจ และอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น และส่งผลต่อผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ทั้งด้านการตรวจพิสูจน์และการตรวจเพื่อวินิจฉัย โครงการฟื้นฟูความรู้ทางคลินิก เรื่อง กรณีศึกษาในงานเทคนิคการแพทย์และห้องปฏิบัติการ จึงจัดขึ้นเพื่อสร้างเสริมความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์แก่ผู้ปฏิบัติงานทาง ให้สามารถเข้าใจและอธิบายความผิดปกติของ ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ที่เกี่ยวข้อง และสอดคล้องกับพยาธิวิทยา เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันระหว่างแพทย์ และพยาบาลผู้ปฏิบัติงาน และนักเทคนิคการแพทย์ ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้เรียนรู้ ประสบการณ์กรณีศึกษา และแนวทางการดำเนินงาน ด้านห้องปฏิบัติการจาก คณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในแขนงวิชาต่างๆ ด้านเทคนิคการแพทย์และวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ อันเป็นการเพิ่มทักษะการปฏิบัติงาน รวมถึงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเพื่อนร่วมงานจากหน่วยงานต่างๆ อีกด้วย
๔. วัตถุประสงค์
๑. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องพยาธิสรีรวิทยา กลไกการเกิดโรค จากกรณีศึกษาใน
ลักษณะต่างๆ ได้แก่ เคมีคลินิก จุลชีววิทยาคลินิก ภูมิคุ้มกันวิทยาคลินิก วิทยาศาสตร์การบริการโลหิต
โลหิตวิทยาคลินิกและจุลทรรศนศาสตร์คลินิก ความสอดคล้องและการพิจารณาผลการตรวจทาง
ห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้อง ตลอดถึงความสามารถในการอธิบายผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เกิดขึ้นได้
๒. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง
๓. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันระหว่างห้องปฏิบัติการ
๕. คุณสมบัติและจำนวนผู้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ
- นักเทคนิคการแพทย์ แพทย์ พยาบาล นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ เจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์การแพทย์
และผู้สนใจ จำนวน ๑๐๐ คน
- คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
๖. ระยะเวลาในการอบรม ๓ วัน ระหว่าง -- วันพุธที่ ๑๕ ถึง วันศุกร์ที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๖
๗. สถานที่จัดอบรม ณ โรงแรม อโมร่า ท่าแพ เชียงใหม่
๘. วิธีการจัดอบรม
- บรรยาย สัมมนา และอภิปรายกลุ่ม
๙. ค่าลงทะเบียน คนละ ๓,๗๐๐ บาท
๑๐. วิทยากร
วิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และโรงพยาบาล
เลขาธิการสภาเทคนิคการแพทย์
คณาจารย์ ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
๑๑. การเก็บคะแนนการศึกษาต่อเนื่อง
ผู้จัดการอบรม จะประสานงานกับสภาเทคนิคการแพทย์เพื่อจัดส่งคะแนนการศึกษาต่อเนื่องสะสมสำหรับ
นักเทคนิคการแพทย์ (CMTE) ที่เข้าร่วมอบรม
๑๒. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
๑. ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องพยาธิสรีรวิทยา กลไกการเกิดโรค จากกรณีศึกษาในลักษณะ
ต่างๆ ได้แก่ เคมีคลินิก จุลชีววิทยาคลินิก ภูมิคุ้มกันวิทยาคลินิก วิทยาศาสตร์การบริการโลหิต โลหิตวิทยา
คลินิก และจุลทรรศนศาสตร์คลินิก ความสอดคล้องและการพิจารณาผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่
เกี่ยวข้อง และสามารถอธิบายผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เกิดขึ้นได้
๒. ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง
๓. ผู้เข้าร่วมอบรมได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้ซึ่งกันและกันระหว่างห้องปฏิบัติการ
ลงทะเบียนตามลิ้งค์ด้านล่าง
http://www.ams.cmu.ac.th/conferences/index.php?projectId=7