ผู้เขียน หัวข้อ: ยุงลาย..ภัยร้ายหน้าฝน  (อ่าน 1209 ครั้ง)

ออฟไลน์ IloveMT

  • medtech ป โท
  • *****
  • กระทู้: 289
    • อีเมล์
ยุงลาย..ภัยร้ายหน้าฝน
« เมื่อ: มิถุนายน 03, 2011, 07:55:33 am »


เมื่อเข้าสู่หน้าฝน... โรคระบาดที่ต้องเฝ้าระวังเป็นอันดับต้นๆ คงหนีไม่พ้น “ไข้เลือดออก” โรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะ เพราะเมื่อฝนตกสิ่งที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้คือ น้ำท่วมขัง ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงชั้นเยี่ยมบวกกับสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าวและมีความชื้นสูง นับเป็นช่วงเวลาที่มียุงลายชุกชุม จึงทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคไข้เลือดออกสูง โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก

 ด้วยเหตุนี้... สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) จึงขอแนะนำ ผู้ปกครองช่วยกันปกป้อง ดูแลลูกน้อยอย่างใกล้ชิด ให้ห่างไกลยุงลาย ห่างไกลไข้เลือดออก...

 ภก.วิพิน กาญจนการุณ นายกสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) แนะว่า ไข้เลือดออก ปัจจุบันมีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส 2 ชนิด คือ เชื้อ “ชิกุนกุนย่า” และ เชื้อ “เดงกี่”   โดยในเมืองไทยจะรู้จักเชื้อเดงกี่มากกว่า ซึ่งมียุงลายตัวเมียเป็นพาหะนำเชื้อ ยุงลายจะออกหากินในเวลากลางวัน หากเป็นผู้ใหญ่การหลีกเลี่ยงยุงลายกัดคงเป็นเรื่องง่าย แต่สำหรับเด็กแล้วเป็นเรื่องที่ยากในการระวังยุงลาย ดังนั้น ผู้ปกครอง ครู อาจารย์จะต้องระวังให้เด็กๆ เป็นพิเศษ
 
 ทั้งนี้ทางสมาคมเภสัชฯ จึงแนะ! วิธีการสังเกตอาการ การดูแลผู้ป่วยเบื้องต้น รวมถึงการป้องกันโรค เพื่อให้เด็กไทยไร้กังกลจากภัยร้ายหน้าฝนนี้...
 
 สังเกตอาการ : มีไข้สูง 2-7 วัน (38-40 องศา) เบื่ออาหาร ปวดศีรษะ มึนงง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อาเจียน อ่อนเพลีย ซึม หน้าแดง ตัวแดง อาจมีผื่น หรือจุดแดงๆ ตามลำตัว แขนและขา มีปัญหาทางกระเพาะปัสสาวะ มีเกล็ดเลือดต่ำ

 หากไม่รีบไปพบแพทย์อาจเข้าสู่ภาวะช็อก โดยจะเริ่มมีอาการกระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ชีพจรเต้นเร็ว อาเจียนมาก ปวดท้อง ผิวหนังเย็นชื้นและดูไม่สบายตัว

  การดูแลผู้ป่วยเบื้องต้น : เมื่อเด็กมีไข้สูง ควรเช็ดตัวเพื่อลดไข้และให้ยาลดไข้ โดยเลือกพาราเซตามอลชนิดน้ำเชื่อม เพราะเด็กจะกินได้ง่าย

 โดยผู้ปกครองควรอ่านฉลากและให้ตามขนาดยาที่เขียนบนฉลาก ทุกๆ 4-6 ชั่วโมง เมื่อไม่มีไข้ก็หยุดยาได้ ห้ามใช้ยาแอสไพรินซึ่งจะส่งผลขัดขวางการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดและทำให้อาการของไข้เลือดออกรุนแรงขึ้น อาจมีเลือดออกในกระเพาะได้ และอาจเข้าสู่ภาวะช็อก

 สังเกตได้จากเด็กจะเพลีย กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น นอกจากให้ยาลดไข้แล้ว ควรพยายามให้เด็กดื่มน้ำ น้ำผลไม้ น้ำแกงจืด หรือน้ำเต้าหู้  ถ้าดูแลเบื้องต้นแล้วเด็กยังมีไข้เกิน 3 วัน หรือมีอาการเลือดออก เช่น จุดสีแดงเล็กๆ ที่ผิวหนังบริเวณแขน ขา ลำตัว หน้า อาจมีเลือดกำเดาไหล หรืออาเจียนเป็นเลือดให้รีบนำส่งโรงพยาบาล

 ข้อควรระวังหากเด็กมีไข้ลดลง แต่มีอาการตัวเย็น ซึม อ่อนเพลีย กระสับกระส่าย ผิวหนังเย็นชื้น เหงื่อออกมาก หรือไม่รับประทานอาหารเลย แสดงว่าเริ่มเข้าสู่ภาวะอันตราย คือ อาการช็อก ให้รีบนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน
 
 วิธีป้องกัน : ระวังอย่าให้เด็กถูกยุงกัด โดยเฉพาะในเวลากลางวัน ให้เด็กอยู่ในบริเวณที่สว่าง ไม่อับลมและเวลานอนต้องนอนในมุ้ง ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงและแหล่งน้ำขัง เช่น   ในตุ่มเก็บน้ำ แจกันดอกไม้ ยางรถยนต์ที่ไม่ใช้แล้ว เปลือกผลไม้หรือกาละมังและชามที่ขังน้ำไว้ โดย ปิดฝาตุ่มเก็บน้ำเสมอ เปลี่ยนถ่ายน้ำในแจกันเป็นประจำ เป็นต้น 

 “แม้ไข้เลือดออกจะพบมากในเด็ก แต่คนทุกเพศทุกวัยก็จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงและสามารถเป็นได้เช่นกัน เรียกได้ว่าเป็นโรคทีjอันตรายกว่าที่หลายคนคาดคิด ในปีหนึ่งๆ คร่าชีวิตคนไทยไปไม่น้อย

 ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออก การป้องกันจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด และถ้าบุตรหลานเป็นแล้วก็ต้องคอยสังเกตอาการ และดูแลอย่างใกล้ชิดด้วย... ถึงน่ากลัว แต่ก็สามารถป้องกันได้ เพราะถ้าไม่มียุงลาย ก็ไม่มีโรคไข้เลือดออก” นายกสมาคมเภสัชฯ กล่าวทิ้งท้าย