ผู้เขียน หัวข้อ: การปรับโครงสร้างสธ. แยกบทบาทชัดเจน ระหว่างผู้ออกนโยบายและผู้ปฏิบัติ  (อ่าน 1947 ครั้ง)

ออฟไลน์ vt

  • medtech ปี เอก
  • ******
  • กระทู้: 530
    • อีเมล์
หมอประดิษฐ ติดตามความคืบหน้าการปรับโครงสร้างสธ. แยกบทบาทชัดเจน ระหว่างผู้ออกนโยบายและผู้ปฏิบัติ ลดการซ้ำซ้อน พร้อมเตรียมสรุปผลงานรัฐบาล 2 ปี เน้นหนักที่ผลประโยชน์ประชาชน


วันนี้ (24 มิถุนายน 2556) ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์ประดิษฐ  สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุมผู้บริหารระดับสูงกระทรวงสาธารณสุข ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และอธิบดีกรมทุกกรมว่า วาระสำคัญการประชุมในวันนี้มี 3 เรื่อง ประกอบด้วย 1. การปรับโครงสร้างใหม่ของกระทรวงสาธารณสุข 2. การติดตามการใช้จ่ายงบประมาณ และ 3.การรวบรวมผลงานของกระทรวงสาธารณสุขที่จะแถลงผลงานรัฐบาล 2 ปี 

            นายแพทย์ประดิษฐกล่าวว่า ในการปรับโครงสร้างใหม่ของกระทรวงสาธารณสุข  จะแยกออกเป็น 3 ส่วน คือ 1.ส่วนที่เป็นผู้กำหนดนโยบาย (National Health Authority) 2.ส่วนที่เป็นผู้ดูแลควบคุม กฎระเบียบต่าง ๆ ในฐานะที่เป็นกรมวิชาการ(Health Regulator)  และ3.ส่วนที่เป็นผู้ปฏิบัติ ( Service Provider ) หน่วยงานจะต้องแยกส่วนการทำงานและเข้าใจบทบาทที่ชัดเจนระหว่าง 3 ส่วนนี้ ไม่มีการยุบรวมกรม โดยสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในอนาคตต้องแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งทำหน้าที่เป็นผู้กำหนดนโยบาย คิดกลยุทธ์ในการพัฒนาต่าง ๆ ภายใต้ข้อมูลของส่วนที่เป็นฝ่ายวิชาการต่างๆ เสนอให้ และอีกส่วน เป็นส่วนของผู้ปฏิบัติ จัดบริการ   โดยจะมีหน่วยงานกลางมาช่วยบริหารให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างเขตบริการ 12 เครือข่าย กับส่วนที่เป็นผู้กำหนดนโยบาย    เพื่อนำนโยบาย   และกลยุทธ์ต่างๆไปดำเนินการให้เกิดผลในภาคปฏิบัติ  ทั้งหมดนี้เป็นมาตรการบริหารจัดการภายในของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งจะไม่รวมกับสปสช.ที่จะเป็นผู้ซื้อบริการ( Perchaser)

         นายแพทย์ประดิษฐกล่าวต่อว่า  ได้ให้หน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ทบทวนแยกบทบาทหน้าที่ให้ชัดเจนระหว่างส่วนที่เป็นภาคปฏิบัติกับส่วนที่กำหนดนโยบาย เช่นสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์  หรือกรณีของกลุ่มประกัน ซึ่งเป็นผู้ออกนโยบายเกี่ยวกับการเก็บเงินประกันต่างๆและเป็นผู้ไปรวบรวมเงินประกันด้วยก็จะเป็นการทำหน้าที่ซ้ำซ้อน  งานกองคลัง ซึ่งอยู่ในฝ่ายของผู้กำหนดนโยบาย แต่ลักษณะงานเป็นงานปฏิบัติควรจะเป็นส่วนของการบริหารจัดการให้เขตบริการ หรือกองการเจ้าหน้าที่ ที่อยู่ในส่วนของผู้กำหนดนโยบาย ควรจะเป็นการดูแลบุคลากรในเชิงนโยบายการพัฒนาบุคลากรมากกว่าดูแลงานธุรการ การโยกย้าย หรือเลื่อนขั้น ซึ่งเป็นการดูแลบุคลากรในส่วนของผู้ปฏิบัติในงานประจำต่างๆ

         นายแพทย์ประดิษฐกล่าวต่อไปว่า เรื่องที่ 2 คือการติดตามเรื่องการใช้จ่ายเงินงบประมาณของกรมกองต่างๆ ขณะนี้ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างได้ประมาณเกือบร้อยละ 70 น่าจะผ่านตามนโยบายข้อกำหนดตัวชี้วัดรัฐบาลได้ในเดือนหน้า และเรื่องที่ 3 ได้ให้ทุกกรมและรองปลัดกระทรวงฯเตรียมตัวนำเสนอตัวชี้วัดของกรม เพื่อรวบรวมผลงานที่จะแถลงผลงานรัฐบาลรอบ 2 ปี ในปีนี้ โดยได้ให้นโยบายชัดเจนว่าไม่เน้นที่จำนวนเรื่อง แต่ให้นำเสนอผลลัพธ์(Out Come) ที่เกิดขึ้นต่อประชาชนและปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อให้รัฐบาลรู้ว่ามีปัญหาที่ต้องแก้ไขในเรื่องใดบ้าง ขณะนี้สิ่งที่รัฐบาลเห็นว่าเป็นปัญหามาโดยตลอด คือเรื่องความเหลื่อมล้ำของการเข้าถึงบริการ เช่น ปัญหาผู้พิการที่ต้องการขาเทียมมีถึงประมาณ 10,000 คน ซึ่งคนเหล่านี้จะได้รับขาฟรีจากสปสช. แต่ยังมีผู้พิการที่ยังไม่ได้รับขาเทียมตกค้างอยู่  ก็จะต้องแก้ไขเรื่องของการเข้าไม่ถึงสิทธิ การทำงานตามแนวทางใหม่มุ่งเน้น ทำให้คนที่มีสิทธิ์ แต่ยังเข้าไม่ถึงสิทธิ์  ให้ได้รับสิทธิ์ทั่วถึง   ไม่ใช่เป็นเรื่องของการไม่มีเงินรักษาหรือไม่มีงบประมาณ






------------------------------------
ที่มา : http://www.moph.go.th/