ผู้เขียน หัวข้อ: แพทยสภา ไม่พอใจผลสอบของดีเอสไอเรื่องการเบิกจ่ายยาเกินความจำเป็น  (อ่าน 2425 ครั้ง)

ออฟไลน์ vt

  • medtech ปี เอก
  • ******
  • กระทู้: 530
    • อีเมล์



แพทยสภา โวยดีเอสไอ ฟัน รพ.ทุจริต จ่ายยาเกินจริง ทั้งที่ยังสอบสวนไม่จบ เตรียมยื่นหนังสือ กรมบัญชีกลาง ทบทวนการงดสั่งจ่ายยาข้อเข่าเสื่อม...

เมื่อวันที่ 5 พ.ค. ที่กระทรวงสาธารณสุข มีการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาศึกษาทบทวนและรับรองประสิทธิภาพและความคุ้มค่าของยาแบบองค์รวม โดยมี ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา กรรมการแพทยสถา เป็นประธานคณะอนุกรรมการฯ  มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมได้แก่ ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย วิทยาลัยแพทย์ออโธปิดิกส์แห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ตัวแทนคณะแพทยศาสตร์จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล  รพ.พระมงกุฏ เจ้ากรมแพทย์ทหารอากาศ  ตัวแทนปลัดกระทรวงสธ. อธิบดีกรมบัญชีกลาง สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.) โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป(รพ.ศ/รพ.ท.) นายกสมาคมข้าราชการอาวุโสแห่งประเทศไทย           

ศ.นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า จากการที่ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้สรุปการสอบสวนการเบิกจ่ายยาเกินความจำเป็นใน รพ.สังกัด สธ. โดยยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน  ถือว่าได้ทำลายภาพลักษณ์ของ รพ.และแพทย์ อย่างมาก รวมทั้ง ยังมีการอ้างว่ามีการเบิกจ่ายยาบางชนิด ของสิทธิข้าราชการสูง  แพทยสภา มองว่า เรื่องดังกล่าวถือว่าไม่ยุติธรรม เพราะผลการสอบสวนยังไม่สิ้นสุด เป็นเพียงการสอบสวนพบความผิดปกติเบื้องต้น โดยที่ยังไม่มีการสอบพยาน คณะอนุกรรมการฯ จึงหารือเพื่อหาแนวทาง ในการใช้ยาอย่างถูกวิธี รวมทั้ง ให้ราชวิทยาลัยต่างๆ ร่วมศึกษาวิจัย ถึงความเป็นไปได้ ในการควบคุมการเบิกจ่ายยาไม่ให้เกินความจำเป็น

แต่ขณะเดียวกันต้องไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ป่วย เช่น ยากลูโคซามีน ซึ่งเป็นยารักษาโรคข้อเข่าเสื่อมนั้น ปัจจุบัน มีผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องใช้ยา ดังนั้นจะมองเรื่องความประหยัดเพียงอย่างเดียวไม่ได้ หากต้องการควบคุมจริงๆ ต้องมีแพทย์เชี่ยวชาญด้านออร์โธปิดิกส์ ร่วมกันทำการศึกษา ข้อดี ข้อเสีย ข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ในการใช้ยาอย่างเหมาะสม และสรุปเป็นแนวทางในการเบิกจ่ายที่ชัดเจน           

นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า แนวทางที่ได้หารือกันจะทำเป็นหนังสือ เพื่อยื่นต่อกรมบัญชีกลางภายในสัปดาห์หน้า โดยผลสรุปนี้เป็นข้อมูลที่ได้จากทุกองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้กรมบัญชีกลาง พิจารณารอบด้าน ทั้งเรื่องค่าใช้จ่าย ประโยชน์ที่จะได้รับ ความสูญเสียของผู้ป่วย ผลกระทบด้านสุขภาพ เพื่อช่วยกันสร้างประสิทธิภาพในการใช้ยาร่วมกัน           

นพ.สารเนตร์ ไวคกุล ประธานราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ กล่าวว่า ข้อมูลที่แพทย์บางกลุ่มนำเสนอต่อกรมบัญชีกลาง ถึงข้อบ่งชี้การเบิกจ่ายยากลูโคซามีนนั้น เป็นผลการศึกษาตั้งแต่ปี 2545 ซึ่งผู้วิจัยเป็นนักศึกษาปริญญาโท ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และการศึกษาดังกล่าวไม่สามารถนำมาอ้างอิงเพื่อใช้ในปัจจุบันและอนาคตได้ 

ดังนั้น หากศึกษาผลกระทบของยาชนิดนี้จริงๆ ก็ต้องทำการศึกษาใหม่อีกครั้ง และทำโดยผู้เชี่ยวชาญด้านนั้นๆ เช่น ระบุให้ชัดเจนว่า ยาชนิดไหน ควรใช้อย่างไร หรือ ข้อยกเว้น หรือ ระยะเวลาที่ต้องใช้ ผลข้างเคียง การติดตามเฝ้าระวัง และประเมินประสิทธิภาพในการใช้ต่อผู้ป่วย           

พล.ต.หญิง พูลศรี เปาวรัตน์ นายกสมาคมข้าราชการอาวุโสแห่งประเทศไทย กล่าวว่า อยากให้กรมบัญชีกลางมุ่งแต่เพียงประเด็น ประหยัดงบประมาณ โดยไม่สนใจประโยชน์ ที่จะเกิดขึ้นต่อผู้ป่วย โดยเสนอแนะว่า หากรัฐต้องการประหยัดงบประมาณในการรักษาจริง ควรเร่งส่งเสริมสุขภาพให้ประชาชน ป้องกันมากกว่าการรักษา พร้อมทั้งศึกษาแนวทางการใช้ยาให้แน่ชัด ไม่ใช่เห็นว่าใช้งบประมาณเยอะก็ตัดทิ้งทันที