ผู้เขียน หัวข้อ:  (อ่าน 1089 ครั้ง)

ออฟไลน์ IloveMT

  • medtech ป โท
  • *****
  • กระทู้: 289
    • อีเมล์
(ไม่มีหัวข้อ)
« เมื่อ: มิถุนายน 17, 2011, 06:52:31 am »


“หมอแสวง”  ชี้ชัด ประกาศสิทธิการตายเป็นเนื้อหาตามหลักการกฎหมาย ไม่ใช่บังคับ  ด้าน“หมอวิสุทธิ์” อัดยับ หากสช. สนับสนุน  ต้อง รับผิดชอบการดำเนินการตามกฎหมาย ตัวแทน สธ.เสนอย้ำนิยาม “วาระสุดท้าย” ให้ชัด เพื่อความเข้าใจตรงกัน  ขณะที่ คณะอนุกรรมการบริหาร แพทยสภา  เตรียมแจกแนวทางการปฏิบัติของแพทย์หลังได้รับหนังสือแดงสิทธิการตายต่อสมาชิกแพทย์
       
       วันนี้ (10 มิ .ย.)  ที่อาคารรัฐสภา  มีการจัดการประชุมสัมมนาจัดเวทีสัมมนาเรื่อง “เจตนารมณ์การขอใช้สิทธิการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต: ผลกระทบต่อผู้ป่วยและแพทย์”  เพื่ออภิปรายถึง “เจตนารมณ์และผลกระทบของกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุข ที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต หรือยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย พ.ศ.2553 ตามมาตรา 12 แห่งพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550” และ “ประเด็นความเสี่ยงของแพทย์เมื่อละเว้นการช่วยชีวิตผู้ป่วยที่ใช้สิทธิตาย”โดย
       
       นพ.อำพล จินดาวัฒนะ  เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) กล่าวว่า ประกาศดังกล่าวไม่ใช่กฎหมายบังคับใช้ เป็นเพียงแนวทางการดำเนินการตามมาตรา 12  ที่ระบุให้ทราบถึงการดำรงของสิทธิที่มีอยู่เท่านั้น  ดังนั้น การออกประกาศ จึงเป็นการกำหนดแนวทางการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายให้ชัดเจนยิ่งขึ้น  ซึ่งไม่ได้หมายความว่าแพทย์จะไม่ทำการรักษาผู้ป่วยที่แสดงสิทธิ  แพทย์ยังคงรักษาด้วยมาตรฐานวิชาชีพต่อไป  จัดเป็นเพียงแนวทางเท่านั้น แต่ต้องทำควบคู่กับการพูดคุยกับญาติพี่น้องของผู้ป่วยด้วย ไม่ใช่ยึดแต่หนังสืออย่างเดียว ดังนั้น ไม่ต้องกังวลว่าแพทย์จะถูกฟ้องร้อง เพราะอย่างไรเสียสุดท้ายก็ต้องพูดคุยกับญาติ
       
       ศ.แสวง บุญเฉลิมวิภาส อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ประกาศดังกล่าวไม่เป็นผลกระทบต่อแพทย์ เพราะไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย เป็นเพียงการใช้เจตนารมณ์ส่วนหนึ่ง โดยมาเขียนให้เห็นเป็นตัวอักษร และสช.ก็ดำเนินการตามสิทธิที่พึงมีอยู่แล้ว แต่สิทธิในการเลือกใช้เจตนาดังกล่าวเป็นสิทธิของผู้ป่วย ซึ่งหากแพทย์มีความคลางแคลงใจว่าเป็นหนังสือปลอมหรือไม่ ก็อาจตรวจสอบโดยการสอบถามกับญาติก่อนปฏิบัติตาม
       
       ด้าน นพ.วิสุทธิ์  ลัจฉเสวี ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า ผู้ที่ออกกฎหมายคิดเอาเองหรือไม่ว่าผู้ป่วยในวาระสุดท้ายมีความทุกข์ ทรมาน และมีความประสงค์จะตาย เพราะแพทย์คนที่ออกกฎหมายนี้ไม่เคยอยู่กับผู้ป่วยที่กำลังจะเสียชีวิต แต่กลับไปร่วมมือกับนักกฎหมายออกกฎหมายนี้ออกมา จึงถือได้ว่าเป็นการออกกฎหมายโดยที่ไม่รู้ข้อเท็จจริง ซึ่งการออกกฎหมายโดยที่ไม่รู้ข้อเท็จจริงถือว่าไม่ถูกต้อง ทั้งนี้การออกกฎหมายโดยการคิดเอาเองถือว่าอันตรายมากและเมื่อกฎหมายนี้ได้ออกมาแล้ว หากแพทย์ปฏิบัติตามหรือไม่ปฏิบัติตาม แพทย์ก็ถือว่าอยู่ในสภาวะเสี่ยงทั้งสิ้น และเรื่องนี้ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ว่าจะเป็นการการุณยฆาต อย่างไรก็ตามหากจะดำเนินการตามกฎหมายตนอยากเสนอให้ สช. จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินการตามกฎหมายนี้ทั้งหมด รวมทั้งต้องเป็นผู้รับรอง ตรวจสอบหนังสือแสดงเจตนาฯด้วย เพราะอาจเข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี-10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2 พันบาทไปจนถึง 2 หมื่นบาท  มาตรา 291 กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
       
       นพ.ทรงยศ ชัยชนะ สาธารณสุขนิเทศก์เขต 1 ผู้แทนปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวว่า  หัวใจสำคัญอยู่ที่คำนิยามของ “วาระสุดท้าย” แม้ว่าสิทธิการรับบริการสาธารณสุขจะเป็นสิทธิของผู้ป่วย แต่วาระสุดท้ายเป็นหน้าที่ของแพทย์ต้องวินิจฉัย แต่เข้าใจว่า แพทย์อาจกังวลว่า ตัวเองจะมีความผิดจากการตัดสินใจว่า ผู้ป่วยอยู่ในวาระสุดท้ายหรือไม่ ประเด็นนี้อาจถูกญาติโจมตีได้ แม้ว่าประกาศนี้จะไม่มีบทลงโทษใดๆทางกฎหมายก็ตาม แต่เพื่อความชัดเจนและเข้าใจตรงกันระหว่าง แพทย์ ญาติ และตัวผู้ป่วย สธ.เห็นว่าควรทำให้ทุกฝ่ายเกิดความกระจ่างของคำนิยามนี้ก่อน
       
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะอนุกรรมการบริหาร แพทยสภา ได้ออกแนวทางการปฏิบัติของแพทย์ เมื่อได้รับหนังสือดังกล่าว ประกอบด้วย 6 ข้อ ดังนี้ 1.เมื่อได้รับหนังสือแสดงเจตนาฯ แพทย์ผู้เกี่ยวข้องต้องแน่ใจว่าหนังสือดังกล่าวเป็นหนังสือแสดงเจตนาฯ ที่กระทำโดยผู้ป่วยขณะที่มีสติสัมปชัญญะ เช่น หนังสือแสดงเจตนาฯ ที่กระทำโดยอยู่ในความรู้เห็นของแพทย์ เช่นนี้แล้วให้ปฏิบัติตามความประสงค์ของผู้ป่วย  ยกเว้นกรณีตามข้อ 6  2.หนังสือแสดงเจตนาฯ นอกเหนือจากข้อ 1 ควรได้รับการพิสูจน์ว่ากระทำโดยผู้ป่วยจริง   3.ในกรณีที่ยังพิสูจน์ไม่ได้ถึง“ความจริงแท้”ของหนังสือแสดงเจตนาฯ นี้  ให้ดำเนินการรักษาผู้ป่วยตามมาตรฐานวิชาชีพเวชกรรม 4.การวินิจฉัยวาระสุดท้ายของชีวิตให้อยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ที่เกี่ยวข้องในภาวะวิสัยและพฤติการณ์ในขณะนั้น  5.ไม่แนะนำให้มีการถอดถอน ( withdraw ) การรักษาที่ได้ดำเนินอยู่ก่อนแล้ว และ 6. ในกรณีที่มีความขัดแย้งกับญาติผู้ป่วย เกี่ยวกับเรื่อง“ความจริงแท้”ของหนังสือแสดงเจตนาฯ ดังกล่าว  แนะนำให้ญาติผู้ป่วยใช้สิทธิทางศาล